บรรยากาศภายในห้องเรียน
สัปดาห์นี้ทุกคนมาถึงห้องตรงเวลาและนั่งเป็นระเบียบเรียบร้อย
บรรยากาศภายในห้องเงียบและพร้อมที่จะเรียนในสัปดาห์นี้ การจัดการเรียนการสอนดำเนินเป็นไปตามขั้นตอนของอาจารย์กิจกรรมที่ได้ลงมือกระทำ
คือ การเรียนรู้เรื่องหน่วยจากการแตกย่อยหัวข้อเป็นรูปแบบแผนผังความคิด
เป็นการฝึกและพัฒนาตนให้เกิดประโยชน์จากการเขียนในมุมของเด็ก โดยอาจารย์ให้เลือกหน่วยของตนเองที่สนใจและลงมือกระทำไม่มีผิดถูก
ความรู้ที่ได้รับ
- อาจารย์ทบทวนความรู้จากการมอบหมายในการศึกษาดูงานที่ “โรงเรียนอนุบาลพิบูลเวศม์” โดยการสอบถามพูดคุยในหัวข้อที่ว่า การบูรนาการที่มีคณิตศาสตร์ในการเรียนรู้ของเด็ก จากการพูดคุยผลสรุปได้ดังนี้ สาระและมาตรฐานการเรียนรู้
สาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ
สาระที่ 2 การวัด
สาระที่ 3 เรขาคณิต
สาระที่ 4 พีชคณิต
สาระที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
สาระที่ 6 ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
สิ่งที่เกิดขึ้นจากการไปศึกษาดูงานเด็กได้รับความรู้ที่เห็นเด่นชัด
คือ
กลุ่มสาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ
= เด็กรู้จักการนับตัวเลขสามารถบอกจำนวนต่าง ๆ ที่คุณครูสอนได้
กลุ่มสาระที่ 2 การวัด
= เด็กรู้เกี่ยวกับความสูง น้ำหนัก
สามารถบอกถึงลักษณะของสิ่งต่าง ๆ ได้
กลุ่มสาระที่ 3 เรขาคณิตศาสตร์
= รู้จักรูปทรงต่าง ๆ จากการวาดรูปและเล่นตามมุม
อีกทั้งเรียนรู้อวัยวะรู้จักซ้าย / ขวา เป็นต้น
กลุ่มสาระที่ 4 พีชคณิต
- การจัดทำแผนเรื่องหน่วยต่าง ๆ โดยการทำหัวข้อที่เด็กควรรู้เกี่ยวหน่วยที่จะศึกษาซึ่งต้องได้มาจากแหล่งข้อมูลที่เป็นมาตรฐานเพื่อเป็นแนวทางในการจัดประสบการณ์ มี 4 ข้อ
- เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก
- สิ่งต่าง ๆ รอบตัว
- บุคคลและสถานที่
- ธรรมชาติรอบตัว
การนำเสนอของเพื่อน
1. นางสาวภธรธร ราชนิพนธ์ นำเสนอวิดีโอ
2. นางสาวจิราภรณ์ ฟักเขียว กดลิงค์
วิดีโอโทรทัศน์ครู เรื่องไข่ดีมีประโยชน์
โดยคุณครูรจนา สังวรสินธุ์
โรงเรียนวัดไทรใหญ่ จังหวัดนนทบุรี
ได้สอนกิจกรรมเสริมประสบการณ์เรื่องไข่ดีมีประโยชน์ทำให้เด็กได้สามารถเรียนรู้เนื้อหาเกี่ยวกับไข่
ชนิดของไข่ส่วนประกอบของไข่
ประโยชน์ของไข่ว่าทำให้ร่างกายแข็งแรงแล้วก็อยากให้เด็กอยากหรือชอบที่จะรับประทานไข่
แล้วก็เด็กยังสามารถนำไข่มาประกอบอาหารได้
กิจกรรมที่ 1 คือให้เด็กเล่นเกมส่งไข่เป็ดโดยเด็กจะมีประสบการณ์เดิมแล้วว่าไข่เป็นสิ่งที่แตกได้ง่ายกิจกรรมนี้จะเป็นการฝึกสมาธิให้เด็กได้คิดว่าจะทำอย่างไรส่งไข่ให้เพื่อนแล้วไข่ไม่แตกเวลาส่งไข่ให้เพื่อนตาต้องมองไปที่เพื่อนตากับมือต้องสัมพันธ์กันทำให้เพื่อนสามารถรับไข่ได้ไข่ก็จะไม่ตกลงพื้น
กิจกรรมที่ 2 ครูเล่านิทานเรื่องไข่ของใครโดยนิทานเรื่องนี้เด็กจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับสีและได้รู้จักสัตว์เพิ่มมากขึ้นได้รู้ว่าสัตว์อะไรที่ออกลูกเป็นไข่บ้างในขณะเล่านิทานเด็กจะมีส่วนร่วมในการตอบคำถามของครูซึ่งการมีส่วนร่วมทำให้เด็กกล้าแสดงออกแล้วทำให้เด็กมีประสบการณ์มากขึ้นเกี่ยวกับเนื้อหาในนิทานครูนำนิทานที่เป็นสัตว์ของจริงมาให้เด็กดูเพราะจากในนิทานกับรูปภาพของจริงนั้นแตกต่างกันให้เด็กมีประสบการณ์จริงๆว่าสัตว์ที่ออกลูกเป็นไข่มีรูปร่างลักษณะเป็นอย่างไรเด็กจะเห็นภาพชัดเจนเป็นรูปธรรมและเข้าใจได้ง่าย
โดยคุณครูรจนา สังวรสินธุ์
โรงเรียนวัดไทรใหญ่ จังหวัดนนทบุรี
ได้สอนกิจกรรมเสริมประสบการณ์เรื่องไข่ดีมีประโยชน์ทำให้เด็กได้สามารถเรียนรู้เนื้อหาเกี่ยวกับไข่
ชนิดของไข่ส่วนประกอบของไข่
ประโยชน์ของไข่ว่าทำให้ร่างกายแข็งแรงแล้วก็อยากให้เด็กอยากหรือชอบที่จะรับประทานไข่
แล้วก็เด็กยังสามารถนำไข่มาประกอบอาหารได้
กิจกรรมที่ 1 คือให้เด็กเล่นเกมส่งไข่เป็ดโดยเด็กจะมีประสบการณ์เดิมแล้วว่าไข่เป็นสิ่งที่แตกได้ง่ายกิจกรรมนี้จะเป็นการฝึกสมาธิให้เด็กได้คิดว่าจะทำอย่างไรส่งไข่ให้เพื่อนแล้วไข่ไม่แตกเวลาส่งไข่ให้เพื่อนตาต้องมองไปที่เพื่อนตากับมือต้องสัมพันธ์กันทำให้เพื่อนสามารถรับไข่ได้ไข่ก็จะไม่ตกลงพื้น
กิจกรรมที่ 2 ครูเล่านิทานเรื่องไข่ของใครโดยนิทานเรื่องนี้เด็กจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับสีและได้รู้จักสัตว์เพิ่มมากขึ้นได้รู้ว่าสัตว์อะไรที่ออกลูกเป็นไข่บ้างในขณะเล่านิทานเด็กจะมีส่วนร่วมในการตอบคำถามของครูซึ่งการมีส่วนร่วมทำให้เด็กกล้าแสดงออกแล้วทำให้เด็กมีประสบการณ์มากขึ้นเกี่ยวกับเนื้อหาในนิทานครูนำนิทานที่เป็นสัตว์ของจริงมาให้เด็กดูเพราะจากในนิทานกับรูปภาพของจริงนั้นแตกต่างกันให้เด็กมีประสบการณ์จริงๆว่าสัตว์ที่ออกลูกเป็นไข่มีรูปร่างลักษณะเป็นอย่างไรเด็กจะเห็นภาพชัดเจนเป็นรูปธรรมและเข้าใจได้ง่าย
กิจกรรมที่ 3ให้เด็กได้เรียนรู้เกี่ยวกับไข่ให้เด็กได้ใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการสังเกต
จำแนก
เปรียบเทียบดูว่าไข่แต่ละชนิดมีลักษณะอย่างไรแตกต่างกันอย่างไรซึ่งเด็กให้เด็กช่วยกันแยกไข่จากตะกร้าใบใหญ่มาใส่ตะกร้าใบเล็กๆที่ครูแบ่งไว้ทั้งหมดห้าตระกล้าเล็กๆ
นอกจากกระบวนการทางวิทยาศาสตร์แล้วไข่ยังบูรนาการเข้ากับคณิตศาสตร์ได้อีกด้วยโดยเด็กได้เรียนรู้ในเรื่องของจำนวนตัวเลขได้มีการนับเปรียบเทียบมากน้อยจำนวนเท่ากันไม่เท่ากัน
โดยครูให้เด็กช่วยนับไข่ในตระกล้าที่เด็กช่วยกันแยกว่าแต่ละตะกร้ามีใครกี่ฟองครูถามเด็กว่าไข่ตะกร้าไหนเยอะที่สุดเด็กตอบว่าไข่นกกระทาเพราะมี 10 ฟอง
ครูถามว่าใครในตะกร้าไหนน้อยที่สุดนั้นก็คือไข่เป็ดเพราะมีอยู่ 2ฟอง
ละครูก็ถามว่าตะกร้าไหนมีจำนวนไข่ที่เท่ากันเด็กก็ตอบว่าไข่เค็มกับไข่เยี่ยวม้าที่มีจำนวนไข่ที่เท่ากันครูจึงพิสูจน์โดยการนำไข่มานับกันเป็นคู่หนึ่งต่อหนึ่งผลพิสูจน์คือไข่ทั้งสองมีจำนวนที่เท่ากัน
หลังจากที่เด็กได้รู้ส่วนนอกของไข่
เเล้วเด็กก็จะได้เรียนรู้ส่วนประกอบของไข่ว่าไข่แต่ละชนิดมีส่วนประกอบที่แตกต่างกันอย่างไรเช่นไข่ขาวของไข่เยี่ยวม้าจะมีเนื้อสีน้ำตาลดำส่วนไข่เค็มเนื้อไข่ขาวของไข่เค็มจะมีสีขาวเด็กจะได้รู้ความแตกต่างระหว่างไข่เค็มกับไข่เยี่ยวม้า
ไข่เป็ดกับไข่ไก่อาจจะมีลักษณะใกล้เคียงกันครูควรพยายามชี้แหนะให้เด็กเห็นถึงความแตกต่างระหว่างไข่เป็ดกับไข่ไก่โดยอาจจะมีคำถามว่าลักษณะของไข่แดงของไข่เป็ดและไข่ไก่เป็นอย่างไรสีเหมือนกันไหมแล้วตอกไข่ให้เด็กดูเด็กก็จะสามารถตอบได้ว่าไข่เป็ดและไข่ไก่มีไข่แดงที่สีแตกต่างกัน
ขนาดของไข่เป็ดใหญ่กว่าไข่ไก่
กิจกรรมที่ 3ให้เด็กได้เรียนรู้เกี่ยวกับไข่ให้เด็กได้ใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการสังเกต
จำแนก
เปรียบเทียบดูว่าไข่แต่ละชนิดมีลักษณะอย่างไรแตกต่างกันอย่างไรซึ่งเด็กให้เด็กช่วยกันแยกไข่จากตะกร้าใบใหญ่มาใส่ตะกร้าใบเล็กๆที่ครูแบ่งไว้ทั้งหมดห้าตระกล้าเล็กๆ
นอกจากกระบวนการทางวิทยาศาสตร์แล้วไข่ยังบูรนาการเข้ากับคณิตศาสตร์ได้อีกด้วยโดยเด็กได้เรียนรู้ในเรื่องของจำนวนตัวเลขได้มีการนับเปรียบเทียบมากน้อยจำนวนเท่ากันไม่เท่ากัน
โดยครูให้เด็กช่วยนับไข่ในตระกล้าที่เด็กช่วยกันแยกว่าแต่ละตะกร้ามีใครกี่ฟองครูถามเด็กว่าไข่ตะกร้าไหนเยอะที่สุดเด็กตอบว่าไข่นกกระทาเพราะมี 10 ฟอง
ครูถามว่าใครในตะกร้าไหนน้อยที่สุดนั้นก็คือไข่เป็ดเพราะมีอยู่ 2ฟอง
ละครูก็ถามว่าตะกร้าไหนมีจำนวนไข่ที่เท่ากันเด็กก็ตอบว่าไข่เค็มกับไข่เยี่ยวม้าที่มีจำนวนไข่ที่เท่ากันครูจึงพิสูจน์โดยการนำไข่มานับกันเป็นคู่หนึ่งต่อหนึ่งผลพิสูจน์คือไข่ทั้งสองมีจำนวนที่เท่ากัน
หลังจากที่เด็กได้รู้ส่วนนอกของไข่
เเล้วเด็กก็จะได้เรียนรู้ส่วนประกอบของไข่ว่าไข่แต่ละชนิดมีส่วนประกอบที่แตกต่างกันอย่างไรเช่นไข่ขาวของไข่เยี่ยวม้าจะมีเนื้อสีน้ำตาลดำส่วนไข่เค็มเนื้อไข่ขาวของไข่เค็มจะมีสีขาวเด็กจะได้รู้ความแตกต่างระหว่างไข่เค็มกับไข่เยี่ยวม้า
ไข่เป็ดกับไข่ไก่อาจจะมีลักษณะใกล้เคียงกันครูควรพยายามชี้แหนะให้เด็กเห็นถึงความแตกต่างระหว่างไข่เป็ดกับไข่ไก่โดยอาจจะมีคำถามว่าลักษณะของไข่แดงของไข่เป็ดและไข่ไก่เป็นอย่างไรสีเหมือนกันไหมแล้วตอกไข่ให้เด็กดูเด็กก็จะสามารถตอบได้ว่าไข่เป็ดและไข่ไก่มีไข่แดงที่สีแตกต่างกัน
ขนาดของไข่เป็ดใหญ่กว่าไข่ไก่
กิจกรรมที่ 4 เป็นกิจกรรมคุกกี้คือไข่หวานโดยเด็กสามารถประกอบอาหารที่มีขั้นตอนง่ายๆได้และเด็กจะเกิดความภาคภูมิใจที่สามารถประกอบอาหารรับทานเองได้ครูให้เด็กร่วมกันทำคุกกี้เด็กได้รู้ปริมาณการใส่เครื่องปรุงว่าต้องใส่น้ำหกถ้วยตวงและใส่น้ำตาลหนึ่งถ้วยตวง
ขั้นตอนการตอกไข่ครูได้สาธิตให้เด็กดูก่อนพอให้เด็กตอกไข่ครูก็สามารถเข้าไปช่วยได้เพราะเด็กอาจจะยังไม่มีประสบการณ์การตอกไข่กล้ามเนื้อมือกับตายังไม่ประสานสัมพันธ์กันเด็กไม่สามารถกะได้ว่าต้องกดมือให้ไข่ลงตรงถ้วยพอดีหลังจากนั้นให้เด็กลงมือตอกไข่ใส่ถ้วยแล้วใส่ลงหม้อโดยครูสาธิตในการใส่ไข่ลงหม้ออย่างไรให้ถูกวิธี
เด็กได้มีประสบการณ์เรียนรู้ได้ด้วยตนเองจากการกระทำ leaning by
doing เด็กจะเกิดประสบการณ์ตรงและเป็นพื้นฐานที่สำคัญในการศึกษาที่สูงขึ้น
นางสาวสุวนัน สายสุด นำเสนอวิจัย
กิจกรรมที่ 4 เป็นกิจกรรมคุกกี้คือไข่หวานโดยเด็กสามารถประกอบอาหารที่มีขั้นตอนง่ายๆได้และเด็กจะเกิดความภาคภูมิใจที่สามารถประกอบอาหารรับทานเองได้ครูให้เด็กร่วมกันทำคุกกี้เด็กได้รู้ปริมาณการใส่เครื่องปรุงว่าต้องใส่น้ำหกถ้วยตวงและใส่น้ำตาลหนึ่งถ้วยตวง
ขั้นตอนการตอกไข่ครูได้สาธิตให้เด็กดูก่อนพอให้เด็กตอกไข่ครูก็สามารถเข้าไปช่วยได้เพราะเด็กอาจจะยังไม่มีประสบการณ์การตอกไข่กล้ามเนื้อมือกับตายังไม่ประสานสัมพันธ์กันเด็กไม่สามารถกะได้ว่าต้องกดมือให้ไข่ลงตรงถ้วยพอดีหลังจากนั้นให้เด็กลงมือตอกไข่ใส่ถ้วยแล้วใส่ลงหม้อโดยครูสาธิตในการใส่ไข่ลงหม้ออย่างไรให้ถูกวิธี
เด็กได้มีประสบการณ์เรียนรู้ได้ด้วยตนเองจากการกระทำ leaning by
doing เด็กจะเกิดประสบการณ์ตรงและเป็นพื้นฐานที่สำคัญในการศึกษาที่สูงขึ้น
วิจัยเรื่อง
การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
โดยใช้รูปแบบกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้
ในการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองที่มุ่งศึกษาพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยใช้รูปแบบกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้-ความมุ่งหมายของวิจัย เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้
สมมติฐานในการวิจัย เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดรูปแบบกิจกรรมสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้มีพัฒนาการทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ก่อนและหลังการทดลองแตกต่างกัน
ขอบเขตการวิจัย นักเรียนระดับปฐมศึกษา ชาย-หญิง โรงเรียนอนุบาลละอออุทิศ จำนวน 10 ห้อง
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า1.แผนการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้2.แบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์การสร้างแผนการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้
สรุปผลวิจัย เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์มีคะแนนเฉลี่ยทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์
โดยรวม 5 ทักษะและการจำแนกรายทักษะ คือ ทักษะการบอกตำแหน่ง
ทักษะการจำแนก ทักษะการนับ ทักษะการรู้ค่าของจำนวน และทักษะการเพิ่ม-ลด
อยู่ในระดับที่ดี และเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์
มีพัฒนาการทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ในทุกทักษะสูงขึ้น
แผนการสอนการจัดกิจกรรมรูปแบบศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้
หน่วย ต้นไม้ หน่วยย่อย ขนาดของต้นไม้
มโนทัศน์ ต้นไม้มีขนาดแตกต่างกัน เช่น ต้นใหญ่ ต้นเล็ก ต้นสูง
จุดประสงค์ สามารถจำแนกจำแนกขนาดต้นไม้ได้
กิจกรรมศิลปะ ศิลปะค้นหากิจกรรมการเรียนการสอน
ขั้นนำ1.กระตุ้นการเรียนรู้ คือ
ให้สิ่งเร้าที่สอดคล้องกับสาระ
2.กรองสู่มโนทัศน์ คือ
กระตุ้นให้สะท้อนคิดและโยงความรู้เพื่อให้เข้าใจมากขึ้นขั้นสอน
3.ครูพาเด็กออกไปสังเกตต้นไม้ในบริเวณสนามเล่นในโรงเรียน
บอกจุดประสงค์ว่าจะเรียนเรื่องขนาดของต้นไม้
4.สนทนา
ตั้งคำถามกับเด็กเกี่ยวกับต้นไม้ เช่น
เด็กๆคิดว่าต้นไม้ในสนามมีขนาดเท่ากันหรือไม่ ต้นไม้ต้นไหนใหญ่ที่สุด
ต้นไม้มีจำนวนกี่ต้น (ให้เด็กร่วมกันนับ)
5.ครูแจกกระดาษให้เด็กๆวาดรูปต้นไม้ที่ตนเองชอบสรุปให้เด็กๆถามเกี่ยวกับผลงานของเพื่อนและร่วมกันสรุปการทำกิจกรรมในครั้งนี้
สื่อ
1.ดินสอ
2.กระดาษ
3.ต้นไม้ที่สนามเด็กเล่น (ของจริง)
ประเมิน 1. สังเกตการตอบคำถามเกี่ยวกับต้นไม้
2. สังเกตความสนใจในการทำกิจกรรม
3. สังเกตผลงานศิลปะของเด็ก
ทักษะที่ได้รับ
- ทักษะการคิดที่แปลกใหม่
- ทักษะการคิดออกแบบ
- ทักษะการคิดดัดแปลง
- ทักษะการลงมือปฏิบัติกิจกรรม
- ทักษะการใช้เทคโนโลยี
- ทักษะการฟังที่ดี
การนำความรู้มาประยุกต์ใช้
- สามารถนำการสร้างไมแม๊ปปิ้งที่เราได้ทั้งการคิด การจำเพราะ แตกแยกย่อยในส่วนของหัวข้อต่าง ๆ ทำให้คิดอย่างมีเหตุผล รอบคอบ สามารถนำไปใช้ในอนาคตอันใกล้ได้
เทคนิคการสอนของอาจารย์
- อาจารย์มีคำถามเพื่อให้นักศึกษาสามารถคิดและตอบคำถามฝึกให้นักศึกษาเรียนรู้ที่หลากหลายผ่านกิจกรรมก่อนเข้าสู่บทเรียนสอดแทรกองค์ความรู้ที่นำไปสู่การบูรณากาในการสอนให้กับเด็ก
ประเมินผล
ประเมินตนเอง มีความตั้งใจในการเรียนการสอน มุ่งมั่นและศึกษาบันทึกเนื้อหาที่เรียนระหว่างการทำการเรียนการสอนของอาจารย์
ประเมินเพื่อน เพื่อนมีสมาธิและเตรียมความพร้อมในการนำเสนอของอาทิตย์นี้ได้ดีและให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมหรือตอบคำถามอยู่เสมอ
ประเมินอาจารย์ อาจารย์มีกิจกรรมที่ส่งเสริมก่อนการเข้าสู่บทเรียนดด้วยการทำกิจกรรมที่แปลกใหม่อยู่เสมอเพื่อให้นักศึกษาได้มีสมาธิและดำเนินการเรียนการสอนเป็นไปอย่างลำดับขั้นตอน
ทักษะที่ได้รับ
- ทักษะการคิดที่แปลกใหม่
- ทักษะการคิดออกแบบ
- ทักษะการคิดดัดแปลง
- ทักษะการลงมือปฏิบัติกิจกรรม
- ทักษะการใช้เทคโนโลยี
- ทักษะการฟังที่ดี
การนำความรู้มาประยุกต์ใช้
- สามารถนำการสร้างไมแม๊ปปิ้งที่เราได้ทั้งการคิด การจำเพราะ แตกแยกย่อยในส่วนของหัวข้อต่าง ๆ ทำให้คิดอย่างมีเหตุผล รอบคอบ สามารถนำไปใช้ในอนาคตอันใกล้ได้
เทคนิคการสอนของอาจารย์
- อาจารย์มีคำถามเพื่อให้นักศึกษาสามารถคิดและตอบคำถามฝึกให้นักศึกษาเรียนรู้ที่หลากหลายผ่านกิจกรรมก่อนเข้าสู่บทเรียนสอดแทรกองค์ความรู้ที่นำไปสู่การบูรณากาในการสอนให้กับเด็ก
ประเมินผล
ประเมินตนเอง มีความตั้งใจในการเรียนการสอน มุ่งมั่นและศึกษาบันทึกเนื้อหาที่เรียนระหว่างการทำการเรียนการสอนของอาจารย์
ประเมินเพื่อน เพื่อนมีสมาธิและเตรียมความพร้อมในการนำเสนอของอาทิตย์นี้ได้ดีและให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมหรือตอบคำถามอยู่เสมอ
ประเมินอาจารย์ อาจารย์มีกิจกรรมที่ส่งเสริมก่อนการเข้าสู่บทเรียนดด้วยการทำกิจกรรมที่แปลกใหม่อยู่เสมอเพื่อให้นักศึกษาได้มีสมาธิและดำเนินการเรียนการสอนเป็นไปอย่างลำดับขั้นตอน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น