บรรยายกาศภายในห้องเรียน
สัปดาห์นี้เป็นการเรียนตึกใหม่กับอาจารย์เป็นครั้งแรก อาจารย์และนักศึกษารวมกันพูดคุยเกี่ยวอาคารสถานที่ใหม่ ภาพรวมของการจัดห้อง ลักษณะโต๊ะ-เกาอี้ เป็นอย่างไร จากนั้นเป็นการนำเสนอของเพื่อน ต่อมาอาจารย์พูดเกี่ยวกับกิจกรรมเดิมจากสัปดาห์ที่แล้วได้มอบหมายงานไว้ การเขียนแผนจัดประสบการณ์ ที่สามารถบูรณาการวิชาคณิตศาสตร์ ทั้งหมดมี 4 หน่วยการเรียนรู้
กิจกรรมที่ทำในวันนี้
- การนำเสนอของเพื่อน 1.นางสาวสุดารัตน์ อาจจุฬา กดดูเพิ่มเติม วีดีทัศน์
คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
บรรยายโดย: ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อัญชลี ไสยวรรณ
การจัดการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กควรเน้นการให้เด็กได้มีโอกาสจัดกระทำ
กับวัตถุประสงค์ต่าง ๆ
เพราะเด็กในวัยนี้เรียนรู้โดยอาศัยประสาทสัมผัสรับรู้และการเคลื่อนไหว
เพื่อส่งเสริมพัฒนาการทางด้านสติปัญญา
การจัดการเรียนรู้เน้นให้เด็กได้พัฒนาประสาทสัมผัสให้มากที่สุด
และกระตุ้นให้เด็กได้คิดและมีโอกาสจัดกระทำ หรือลงมือปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ
รวมทั้งเปิดโอกาสให้เด็กได้สัมผัสแตะต้อง ได้เห็นสิ่งต่าง ๆ หรือเรียนรู้สิ่งต่าง
ๆ โดยผ่านประสาทสัมผัสแตะต้อง ได้เห็นสิ่งใหม่ ๆ
ซึ่งวิธีการดังกล่าวจะช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ รอบตัว
การจัดการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยหมายถึง
การจัดสภาพการณ์ในชีวิตประจำวันของเด็กเป็นฐานการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ซึ่งครูต้องวางแผนการจัดการเรียนรู้เป็นอย่างดี
ประกอบด้วยกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้เด็กค้นคว้า แก้ปัญหา พัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์และความคิดรวบยอด
ที่เหมาะสมกับระดับพัฒนาการ เด็กแต่ละวัยจะมีความสามารถเฉพาะ
เรียนรู้ด้วยการปฏิบัติจริง
บรรยากาศการเรียนต้องไม่เคร่งเครียดเด็กรู้สึกสบายๆในขณะเรียน
เห็นความสัมพันธ์ของคณิตศาสตร์ในธรรมชาติ บ้าน โรงเรียน กิจกรรมสอดคล้องกับชีวิตประจำวันและเชื่อมโยงกับประสบการณ์เดิมจะช่วยพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์และความคิดรวบยอดได้ดีขึ้น
ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์
ประกอบด้วยความสามารถต่างๆดังนี้
- การจำแนกประเภท
- การจัดหมวดหมู่
- การเรียงลำดับ
- การเปรียบเทียบ
- รูปร่างรูปทรง
- พื้นที่
- การชั่งตวงวัด
- การนับ
- การรู้จักตัวเลข
- รู้จักความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนกับตัวเลข
- เวลา
- การเพิ่มและลดจำนวน
จำนวนและตัวเลข
เด็กปฐมวัยหากได้เรียนรู้จากการปฏิบัติโดยการใช้สื่อของจริงจะส่งผลให้มีทักษะการรับรู้เชิงจำนวนเนื่องจากธรรมชาติได้สร้างให้สมองของเด็กมีบริเวณที่เกี่ยวข้อง
กับการรับรู้เชิงจำนวน ส่วนของสมองอย่างน้อย 3 บริเวณที่เกี่ยวข้องกับทักษะการรับรู้เชิงจำนวน
สองส่วนแรกอยู่ที่สมองทั้งซีกซ้ายและขวาเกี่ยวข้องกับสัญลักษณ์ตัวเลข
และบริเวณที่ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการเปรียบเทียบจำนวน และบริเวณสุดท้ายอยู่ที่สมองซีกซ้ายคือ
ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการนับปากเปล่าและความจำเกี่ยวกับจำนวน การคำนวณ
โดยสมองทั้ง 3 ส่วนจะทำงานร่วมกัน
พัฒนาการด้านการรับรู้เชิงจำนวนและคณิตศาสตร์เริ่มตั้งแต่ปฐมวัยและพัฒนาเรื่อยไปจนถึงวัยผู้ใหญ่
ประสบการณ์การเรียนรู้
3 รูปแบบ คือ
1. ประสบการณ์การเรียนรู้ตามธรรมชาติ
(Naturalistic Experiences)
2. ประสบการณ์จากการเรียนรู้แบบไม่เป็นทางการ
(Informal Learning Experiences)
3. ประสบการณ์จากการเรียนรู้แบบมี สาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ขอบข่ายของเนื้อหาทางคณิตศาสตร์ที่เด็กปฐมวัยโครงสร้าง
(Structure Learning Experiences) สาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์เป็น
ควรได้เรียนรู้และมีความสัมพันธ์กับหลักสูตร
บทความ นางสาวชื่นนภา เพิ่มพูล
วิจัย นายอารักษ์ ศักดิกุล
- แผนการจัดประสบการณ์ที่สามารถบูรณาการกับคณิตศาสตร์ หน่วยการเรียนรู้ มีดังนี้
1. หน่วย กล้วย (ชนิด)
2. หน่วย ยานพาหนะ (ประเภท)
3. หน่วย ผลไม้ (ชนิด)
4. หน่วย ของเล่นของใช้ (ประเภท)
หน่วยของกลุ่มดิฉัน คือ หน่วย ผลไม้ การจัดทำแผนประสบการณ์ทั้ง 5 วัน ตามหัวข้อดังนี้
วันที่ 1 แผนการจัดประสบการณ์เกี่ยวกับเรื่อง
"ชนิดของผลไม้" (ครูพลอย)
วันที่ 2 แผนการจัดประสบการณ์เกี่ยวกับเรื่อง
"ลักษณะของผลไม้" (ครูเดียร์)
วันที่ 3
แผนการจัดประสบการณ์เกี่ยวกับเรื่อง
"การดูแลลรักษาของผลไม้" (ครูภาพวิว)
วันที่ 4 แผนการจัดประสบการณ์เกี่ยวกับเรื่อง
"ประโยชน์ของผลไม้" (ครูฟิล์ม)
วันที่ 5 แผนการจัดประสบการณ์เกี่ยวกับเรื่อง
"ข้อควรระวังของผลไม้" (ครูปอย)
อาจารย์และนักศึกษาร่วมพูดคุยเกี่ยวกับแผนวันที่
1 เพื่อให้มีความรู้ที่หลากหลายด้านจากการสนทนา
รายละเอียดในการเขียนแผนจัดประสบการณ์วันที่ 1 ของหน่วยผลไม้มีดังนี้ องค์ประกอบของการเขียนแผน
1. ชื่อกิจกรรม
2. วัตถุประสงค์
3. วิธีการดำเนินการ
-ขั้นนำ
-ขั้นสอน
-ขั้นสรุป
4. สื่อ
5.ประเมินผล
ความรู้ที่ได้รับ
- สามารถนำตัวเลขมากำกับสื่อที่นำมา เพื่อเพิ่มเติมทักษะความยาก ง่ายของเด็ก
- ขั้นการประเมิน เมื่อมี 2 กลุ่มให้เขียนเป็นการจัดลำดับ ใช้คำว่า มากกว่า ยกตัวอย่าง กลุ่มที่ 1 ชอบกินส้ม มากกว่า แต่น้อยกว่ากลุ่มที่ 2
- เมื่อมี 3 กลุ่ม ใช้คำว่า มากที่สุด
- การหยิบผลไม้ให้เด็กควรหยิบคละ ลักษณะ
- การแนะนำอุปกรณ์ไม่ควรเปิดให้เด็กจนไม่ได้ลุ้นว่าในตระกร้ามีอะไรซ่อนอยู่
ทักษะที่ได้รับ
- ทักษะการคิดที่แปลกใหม่
- ทักษะการลงมือปฏิบัติกิจกรรม
- ทักษะการใช้เทคโนโลยี
- ทักษะการฟังที่ดี
- ทักษะการออกแบบ
- ทักษะการเขียนแผนการจัดประสบการณ์
การนำความรู้มาประยุกต์ใช้
- การจัดทำแผนประสบการณ์ที่เหมาะสมควบคู่กับการบูรณาการวิชาคณิตศาสตร์ที่มีอยู่ในชีวิตประจำวันเพื่อให้เด็กสามารถทำกิจกรรมการเล่นได้อย่างสนุกสนาน และสามารถเข้าใจถึงหลักการใช้คณิตศาสตร์ในรูปแบบง่าย ๆ โดยการเรียนรู้จากการเล่นกิจกรรมที่คุณครูได้ทำแผนจัดประสบการณ์ขึ้น
เทคนิคการสอนของอาจารย์
- การจัดการเรียนการสอนเป็นไปอย่างราบรื่น ไม่เคร่งเคลียด อาจารย์ให้นักศึกษาเสนอแนวคิด วิธีการจัดทำกิจกรรมที่หลากหลาย และนำมาปรับำร้อมกับพูดคุบวิธีการเขียนแผนในรูปแบบของอาจารย์
ประเมินผล
ประเมินตนเอง แต่งกายเป็นระเบียบ ไม่เล่นโทรศัพท์ บันทึกเนื้อหาที่เรียนระหว่างการทำการเรียนการสอนของอาจารย์
ประเมินเพื่อน เพื่อนมีสมาธิและเตรียมความพร้อมในการเรียนการสอนสามารถตอบคำถามข้อสงสัยโต้ตอบกับอาจารย์ได้
ประเมินอาจารย์ อาจารย์ดำเนินการเรียนการสอนเป็นไปอย่างลำดับขั้นตอน การแต่งกายเรียบร้อยสถานที่และให้เกียรตินักศึกษา อีกทั้งให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็น / แย้ง อาจารย์ก็รับฟังทุกเมื่อ
ทักษะที่ได้รับ
- ทักษะการคิดที่แปลกใหม่
- ทักษะการลงมือปฏิบัติกิจกรรม
- ทักษะการใช้เทคโนโลยี
- ทักษะการฟังที่ดี
- ทักษะการออกแบบ
- ทักษะการเขียนแผนการจัดประสบการณ์
การนำความรู้มาประยุกต์ใช้
- การจัดทำแผนประสบการณ์ที่เหมาะสมควบคู่กับการบูรณาการวิชาคณิตศาสตร์ที่มีอยู่ในชีวิตประจำวันเพื่อให้เด็กสามารถทำกิจกรรมการเล่นได้อย่างสนุกสนาน และสามารถเข้าใจถึงหลักการใช้คณิตศาสตร์ในรูปแบบง่าย ๆ โดยการเรียนรู้จากการเล่นกิจกรรมที่คุณครูได้ทำแผนจัดประสบการณ์ขึ้น
เทคนิคการสอนของอาจารย์
- การจัดการเรียนการสอนเป็นไปอย่างราบรื่น ไม่เคร่งเคลียด อาจารย์ให้นักศึกษาเสนอแนวคิด วิธีการจัดทำกิจกรรมที่หลากหลาย และนำมาปรับำร้อมกับพูดคุบวิธีการเขียนแผนในรูปแบบของอาจารย์
ประเมินผล
ประเมินตนเอง แต่งกายเป็นระเบียบ ไม่เล่นโทรศัพท์ บันทึกเนื้อหาที่เรียนระหว่างการทำการเรียนการสอนของอาจารย์
ประเมินเพื่อน เพื่อนมีสมาธิและเตรียมความพร้อมในการเรียนการสอนสามารถตอบคำถามข้อสงสัยโต้ตอบกับอาจารย์ได้
ประเมินอาจารย์ อาจารย์ดำเนินการเรียนการสอนเป็นไปอย่างลำดับขั้นตอน การแต่งกายเรียบร้อยสถานที่และให้เกียรตินักศึกษา อีกทั้งให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็น / แย้ง อาจารย์ก็รับฟังทุกเมื่อ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น