วันพุธที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 12

         วันพุธ ที่ 30 มีนาคม 2559 กลุ่มเรียน101 ตึก 34 ห้อง 401 เวลา 08.30-11.30 น.

บรรยายกาศภายในห้องเรียน

      สัปดาห์นี้เป็นการเรียนสอนต่อเนื่องจากสัปดาห์ที่แล้วโดยนำเสนอแผนวันที่ 1 และแผนวันที่ 2 ทั้งหมดมี 4 กลุ่ม แบ่งเป็น 2 กลุ่ม อยู่ในแผ่นวันที่ 1 กับวันที่ 2 ดังนี้ แผนวันที่ 1 กลุ่มกล้วยกับของเล่นของใช้ แผนวันที่ 2 กลุ่มยานพาหนะและกลุ่มผลไม้ เมื่อนำเสนอเสร็จอาจารย์ได้เพิ่มเติมเกี่ยวกับแผนภายในวันต่อไปของหน่วยนั้น ๆ เป็นการเขียนแผนเสริมประสบการณ์ วันที่ 3 - 4  หัวข้อ เรื่องดูแลรักษาของผลไม้, เรื่องประโยชน์ของผลไม้

กิจกรรมในวันนี้
  • นำเสนอวิจัยของเพื่อน 2 คน

นายอารักษ์  ศักดิกุล  (แก้ไขเพิ่มเติม) 

สรุปงานวิจัย
เรื่อง การพัฒนาความพร้อมทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย โดยใช้การละเล่นพื้นบ้านของไทย
โดย สมศรี เป็งใจ
จุดมุ่งหมายของการวิจัย - เป็นการเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัย ซึ่งเป็นวัยที่มีพัฒนาการที่รวดเร็ว โดยเฉพาะด้านสติปัญญา การจัดประสบการณ์ที่เหมาะสมจะช่วยให้เด็กมีพัฒนาการทั้ง4ด้าน ได้แก่ด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม สติปัญญา 
วัตถุประสงค์ของการทำวิจัยนี้คือ
1. เพื่อสร้างแผนการจัดประสบการณ์การละเล่นพื้นบ้านของไทยเพื่อพัฒนาคาวมพร้อมทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
2. เพื่อศึกษาความพร้อมทางคณิตศาสตร์และพฤติกรรมการเล่นของเด็กปฐมวัยโดยใช้การละเล่นพื้นบ้านของไทย
ผลการวิจัย - นักเรียนส่วนใหญ่มีพัฒนาการโดยเฉพาะความสามารถด้านการคิดได้อย่างเหมาะสมกับวัย ซึ่งได้ผลสรุปรูปแบบการคิดที่สะท้อนในขณะเล่นและทำกิจกรรมดังนี้ คิดคล่องว่องไว คิดชัดเจน คิดหลากหลาย คิดละเอียดอ่อน คิดเปรียบเทียบ คิดอย่างมีเหตุและผล คิดเป็น คิดแคบ-คิดกว้าง คิดรอบคอบ นักเรียนทุกคนมีความพร้อมทางคณิตศาสตร์ผ่านเกณฑ์ 70 % โดยมีค่าเฉลี่ยร้อยละ 87.25

งานวิจัยนางสาวยุคลธร  ศรียะลา   กดดูเพิ่มเติมค่ะ

ชื่อวิจัย  ผลของการจัดกิจกรรมหลักการฟังนิทานโดยเล่าเรื่องนิทานในรูปแบบการวาดแผนที่แบบเป็นกลุ่มและรายบุคคลที่มีต่อทักษะพื้นฐานคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
โดย  วิรัตน์  กรองสอาด  คณะศึกษาศาสตร์   มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย

                    ทักษะทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย เด็กจะเรียนรู้ด้วยความเข้าใจและคิดหาเหตุผลไม่ใช่การเรียนด้วยการท่องจำ เด็กจะต้องมีความเข้าใจพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ก่อนเด็กจึงจะสามารถเรียนในขั้นที่สูงขึ้นไปได้  ดังนั้นคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยจึงเป็นมากกว่าวิชาคิดคำนวณซึ่งทักษะต่างๆจะสอดแทรกในกิจกรรมที่ครูจัดให้เด็กตามตารางกิจกรรมประจำวัน
                    การเล่านิทานให้เด็กฟังของครูนับว่าเป็นส่วนหนึ่งของสถานการณ์ในชีวิตประจำวันของเด็กปฐมวัยการทำกิจกรรมหลังฟังนิทานโดยการวาดแผนที่เป็นกิจกรรมที่เป็นรูปธรรม คือเด็กได้ลงมือกระทำ ได้ใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้า เพราะกิจกรรมวาดแผนที่เด็กต้องใช้ทักษะการสังเกตเพื่อเปรียบเทียบและจำแนก  เพื่อบอกตำแหน่งและใช้การคิดอย่างเป็นระบบต่อการเรียงลำดับเหตุการณ์ของเรื่อง นับว่าสอดคล้องกับหลักการจัดประสบการณ์เพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ที่ว่า จัดกิจกรรมให้เกิดความสนุกสนานและเกิดความรู้ไปด้วย

                   เริ่มการทดสอบโดยการเล่านิทานที่แฝงไปด้วยพื้นฐานของคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย เช่น รูปทรง ตัวเลข ขนาด  โดยคุณครูได้เปลี่ยนเรื่องเล่าในแต่ละวัน  เมื่อครบวันที่กำหนดในการเล่านิทานคุณครูก็นำแบบทดสอบความรู้ทางคณิตศาสตร์มาให้เด็กๆได้ลองทำ ซึ่งกลุ่มตัวอย่างคือเด็กอายุ 5-6 ปี โดยชุดแรกของการทดสอบคือการนำรูปภาพ 3 รูปมาเรียงต่อกันซึ่งแต่ละรูปจะมีขนาดที่ต่างกันแล้วครูก็ให้โจทย์นักเรียนโดยบอกว่า " เด็กๆช่วยกากบาททับรูปที่เล็กที่สุดให้ครูหน่อยค่ะ " ชุดต่อมาเป็นการทดสอบขนาด ความยาว สูงต่ำ  โดยคุณครูบอกเด็กๆว่า " ให้เด็กๆช่วยกากบาททับรูปบ้านที่สูงที่สุดให้คุณครูหน่อยค่ะ "  อีกชุดคือการทดสอบความแตกต่างของภาพที่เห็นโดยให้เด็กๆเลือกกากบาทสิ่งที่ต่างออกไปจากเพื่อน

                   งานวิจัยเรื่องนี้นำเอานิทานสิ่งใกล้ตัวเด็กและสิ่งที่อยู่ในชีวิตประจำวันของเด็กมาใช้สอนได้อย่างถูกวิธี เช่น เรื่องลูกหมาสิบตัวก็สอดแทรกจำนวนนับทั้งสิบทำให้ง่ายต่อการจดจำและการเรียนรู้ของเด็ก  ทำให้เขาเข้าใจ เข้าถึงพื้นฐานของคณิตศาสตร์ได้ง่ายและครบถ้วน อีกทั้งให้ความเพลิดเพลิน สนุกสนานและเกิดความคิดสร้างสรรค์อีกด้วย  การใช้นิทานสามารถทดสอบความรู้พื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยได้เป็นอย่างดีเพราะเด็กได้เรียนรู้ทั้งรูปทรงเรขาคณิต จำนวนนับ  การใช้เหตุผล  การเรียงลำดับเหตุการณ์ในชีวิตประจำวัน  ขนาด ระยะทาง ซึ่งเป็นการสอนพื้นฐานคณิตศาสตร์สอดแทรกได้อย่างง่ายเลยทีเดียว
  • การนำเสนอแผนเสริมประสบการณ์ของวันที่ 1 และวันที่ 2 ดังนี้
แผนวันที่ 1 จากหน่วยยานพาหนะ
แผนวันที่ 3 จากหน่วยของเล่นของใช้
แผนวันที่ 4 จากหน่วยกล้วย

       
ความรู้ที่ได้รับ 

    ·  สาวิธีการสอน 1.การะกระตุ้น=ความคิดดยการซักถาม 2. ความจำ/ความสนใจ=เช่น เพลงทวนเกี่ยวกับผลไม้ที่เด็กได้ร้องว่ามีผลไม้ใดบ้าง 3.ความรู้เดิมประสบการณ์เดิม
    ·  การเปิดใจรับฟัง การฟังที่ดี ไม่มีสิ่งที่ถูกหรือผิดหากเรามีเหตุผลที่เพื่อพอต่อสิ่งกระทำจริง 
    ·   เมื่อมี 3 กลุ่ม ใช้คำว่า มากที่สุด  
    ·   การหยิบผลไม้ให้เด็กควรหยิบคละ ลักษณะ
    ·   การแนะนำอุปกรณ์ไม่ควรเปิดให้เด็กจนไม่ได้ลุ้นว่าในตระกร้ามีอะไรซ่อนอยู่

 ทักษะที่ได้รับ 

·   ทักษะการคิดที่แปลกใหม่

·    ทักษะการลงมือปฏิบัติกิจกรรม

·     ทักษะการใช้เทคโนโลยี

·     ทักษะการฟังที่ดี

·     ทักษะการออกแบบ

·     ทักษะการเขียนแผนการจัดประสบการณ์

 การนำความรู้มาประยุกต์ใช้

·  การจัดทำแผนประสบการณ์ที่เหมาะสมควบคู่กับการบูรณาการวิชาคณิตศาสตร์ที่มีอยู่ในชีวิตประจำวันเพื่อให้เด็กสามารถทำกิจกรรมการเล่นได้อย่างสนุกสนาน และสามารถเข้าใจถึงหลักการใช้คณิตศาสตร์ในรูปแบบง่าย ๆ โดยการเรียนรู้จากการเล่นกิจกรรมที่คุณครูได้ทำแผนจัดประสบการณ์ขึ้น

เทคนิคการสอนของอาจารย์

·  การจัดการเรียนการสอนเป็นไปอย่างราบรื่น ไม่เคร่งเคลียด อาจารย์ให้นักศึกษาเสนอแนวคิด วิธีการจัดทำกิจกรรมที่หลากหลาย และนำมาปรับำร้อมกับพูดคุบวิธีการเขียนแผนในรูปแบบของอาจารย์

ประเมินผล

 ประเมินตนเอง แต่งกายเป็นระเบียบ บันทึกเนื้อหาที่เรียนระหว่างการทำการเรียนการสอนของอาจารย์

ประเมินเพื่อน เพื่อนมีสมาธิและเตรียมความพร้อมในการเรียนการสอนสามารถตอบคำถามข้อสงสัยโต้ตอบกับอาจารย์ได้พร้อบรับฟังและปรับปรุงแก้ไขคำชี้แนะจากอาจารย์

ประเมินอาจารย์ อาจารย์ดำเนินการเรียนการสอนเป็นไปอย่างลำดับขั้นตอน การแต่งกายเรียบร้อยสถานที่และให้เกียรตินักศึกษา อีกทั้งให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็น / แย้ง อาจารย์ก็รับฟังทุกเมื่อ














วันศุกร์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 11

                  วันพุธ ที่ 23 มีนาคม 2559 กลุ่มเรียน101 ตึก 34 ห้อง 401 เวลา 08.30-11.30 น.
บรรยายกาศภายในห้องเรียน

        สัปดาห์นี้เป็นการเรียนตึกใหม่กับอาจารย์เป็นครั้งแรก อาจารย์และนักศึกษารวมกันพูดคุยเกี่ยวอาคารสถานที่ใหม่ ภาพรวมของการจัดห้อง ลักษณะโต๊ะ-เกาอี้ เป็นอย่างไร จากนั้นเป็นการนำเสนอของเพื่อน ต่อมาอาจารย์พูดเกี่ยวกับกิจกรรมเดิมจากสัปดาห์ที่แล้วได้มอบหมายงานไว้ การเขียนแผนจัดประสบการณ์ ที่สามารถบูรณาการวิชาคณิตศาสตร์ ทั้งหมดมี 4 หน่วยการเรียนรู้ 

กิจกรรมที่ทำในวันนี้
  • การนำเสนอของเพื่อน   1.นางสาวสุดารัตน์  อาจจุฬา  กดดูเพิ่มเติม วีดีทัศน์  
คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
บรรยายโดย:  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อัญชลี  ไสยวรรณ
            การจัดการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กควรเน้นการให้เด็กได้มีโอกาสจัดกระทำ กับวัตถุประสงค์ต่าง ๆ เพราะเด็กในวัยนี้เรียนรู้โดยอาศัยประสาทสัมผัสรับรู้และการเคลื่อนไหว เพื่อส่งเสริมพัฒนาการทางด้านสติปัญญา การจัดการเรียนรู้เน้นให้เด็กได้พัฒนาประสาทสัมผัสให้มากที่สุด และกระตุ้นให้เด็กได้คิดและมีโอกาสจัดกระทำ หรือลงมือปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ รวมทั้งเปิดโอกาสให้เด็กได้สัมผัสแตะต้อง ได้เห็นสิ่งต่าง ๆ หรือเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ โดยผ่านประสาทสัมผัสแตะต้อง ได้เห็นสิ่งใหม่ ๆ ซึ่งวิธีการดังกล่าวจะช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ รอบตัว
             การจัดการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยหมายถึง การจัดสภาพการณ์ในชีวิตประจำวันของเด็กเป็นฐานการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ซึ่งครูต้องวางแผนการจัดการเรียนรู้เป็นอย่างดี ประกอบด้วยกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้เด็กค้นคว้า แก้ปัญหา พัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์และความคิดรวบยอด ที่เหมาะสมกับระดับพัฒนาการ เด็กแต่ละวัยจะมีความสามารถเฉพาะ เรียนรู้ด้วยการปฏิบัติจริง บรรยากาศการเรียนต้องไม่เคร่งเครียดเด็กรู้สึกสบายๆในขณะเรียน เห็นความสัมพันธ์ของคณิตศาสตร์ในธรรมชาติ บ้าน โรงเรียน กิจกรรมสอดคล้องกับชีวิตประจำวันและเชื่อมโยงกับประสบการณ์เดิมจะช่วยพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์และความคิดรวบยอดได้ดีขึ้น

ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ประกอบด้วยความสามารถต่างๆดังนี้
- การจำแนกประเภท
- การจัดหมวดหมู่
- การเรียงลำดับ
- การเปรียบเทียบ
- รูปร่างรูปทรง
- พื้นที่
- การชั่งตวงวัด
- การนับ
- การรู้จักตัวเลข
- รู้จักความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนกับตัวเลข
- เวลา
- การเพิ่มและลดจำนวน
        จำนวนและตัวเลข เด็กปฐมวัยหากได้เรียนรู้จากการปฏิบัติโดยการใช้สื่อของจริงจะส่งผลให้มีทักษะการรับรู้เชิงจำนวนเนื่องจากธรรมชาติได้สร้างให้สมองของเด็กมีบริเวณที่เกี่ยวข้อง กับการรับรู้เชิงจำนวน ส่วนของสมองอย่างน้อย 3 บริเวณที่เกี่ยวข้องกับทักษะการรับรู้เชิงจำนวน สองส่วนแรกอยู่ที่สมองทั้งซีกซ้ายและขวาเกี่ยวข้องกับสัญลักษณ์ตัวเลข และบริเวณที่ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการเปรียบเทียบจำนวน และบริเวณสุดท้ายอยู่ที่สมองซีกซ้ายคือ ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการนับปากเปล่าและความจำเกี่ยวกับจำนวน การคำนวณ โดยสมองทั้ง 3 ส่วนจะทำงานร่วมกัน พัฒนาการด้านการรับรู้เชิงจำนวนและคณิตศาสตร์เริ่มตั้งแต่ปฐมวัยและพัฒนาเรื่อยไปจนถึงวัยผู้ใหญ่

ประสบการณ์การเรียนรู้  3  รูปแบบ คือ
1. ประสบการณ์การเรียนรู้ตามธรรมชาติ  (Naturalistic Experiences)
2. ประสบการณ์จากการเรียนรู้แบบไม่เป็นทางการ  (Informal Learning Experiences)
3. ประสบการณ์จากการเรียนรู้แบบมี  สาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ขอบข่ายของเนื้อหาทางคณิตศาสตร์ที่เด็กปฐมวัยโครงสร้าง (Structure Learning Experiences)  สาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์เป็น ควรได้เรียนรู้และมีความสัมพันธ์กับหลักสูตร

บทความ นางสาวชื่นนภา  เพิ่มพูล
วิจัย นายอารักษ์  ศักดิกุล


  •  แผนการจัดประสบการณ์ที่สามารถบูรณาการกับคณิตศาสตร์   หน่วยการเรียนรู้ มีดังนี้

1. หน่วย กล้วย  (ชนิด)
2. หน่วย ยานพาหนะ (ประเภท)
3. หน่วย ผลไม้ (ชนิด)
4. หน่วย ของเล่นของใช้ (ประเภท)
หน่วยของกลุ่มดิฉัน คือ หน่วย ผลไม้ การจัดทำแผนประสบการณ์ทั้ง 5 วัน ตามหัวข้อดังนี้



วันที่ 1 แผนการจัดประสบการณ์เกี่ยวกับเรื่อง "ชนิดของผลไม้" (ครูพลอย)
    วันที่ 2 แผนการจัดประสบการณ์เกี่ยวกับเรื่อง "ลักษณะของผลไม้" (ครูเดียร์)
                    วันที่ 3 แผนการจัดประสบการณ์เกี่ยวกับเรื่อง "การดูแลลรักษาของผลไม้" (ครูภาพวิว)
         วันที่ 4 แผนการจัดประสบการณ์เกี่ยวกับเรื่อง "ประโยชน์ของผลไม้" (ครูฟิล์ม)
            วันที่ 5 แผนการจัดประสบการณ์เกี่ยวกับเรื่อง "ข้อควรระวังของผลไม้" (ครูปอย)


อาจารย์และนักศึกษาร่วมพูดคุยเกี่ยวกับแผนวันที่ 1 เพื่อให้มีความรู้ที่หลากหลายด้านจากการสนทนา รายละเอียดในการเขียนแผนจัดประสบการณ์วันที่ 1 ของหน่วยผลไม้มีดังนี้     องค์ประกอบของการเขียนแผน
1. ชื่อกิจกรรม
2. วัตถุประสงค์
3. วิธีการดำเนินการ 
                         -ขั้นนำ 
                        -ขั้นสอน
                        -ขั้นสรุป
             4. สื่อ
             5.ประเมินผล

ความรู้ที่ได้รับ 

  • สามารถนำตัวเลขมากำกับสื่อที่นำมา เพื่อเพิ่มเติมทักษะความยาก ง่ายของเด็ก
  • ขั้นการประเมิน เมื่อมี 2 กลุ่มให้เขียนเป็นการจัดลำดับ ใช้คำว่า มากกว่า ยกตัวอย่าง กลุ่มที่ 1 ชอบกินส้ม มากกว่า แต่น้อยกว่ากลุ่มที่ 2 
  • เมื่อมี 3 กลุ่ม ใช้คำว่า มากที่สุด  
  • การหยิบผลไม้ให้เด็กควรหยิบคละ ลักษณะ
  • การแนะนำอุปกรณ์ไม่ควรเปิดให้เด็กจนไม่ได้ลุ้นว่าในตระกร้ามีอะไรซ่อนอยู่

ทักษะที่ได้รับ 
  • ทักษะการคิดที่แปลกใหม่
  • ทักษะการลงมือปฏิบัติกิจกรรม
  • ทักษะการใช้เทคโนโลยี
  • ทักษะการฟังที่ดี
  • ทักษะการออกแบบ
  • ทักษะการเขียนแผนการจัดประสบการณ์

การนำความรู้มาประยุกต์ใช้
  •  การจัดทำแผนประสบการณ์ที่เหมาะสมควบคู่กับการบูรณาการวิชาคณิตศาสตร์ที่มีอยู่ในชีวิตประจำวันเพื่อให้เด็กสามารถทำกิจกรรมการเล่นได้อย่างสนุกสนาน และสามารถเข้าใจถึงหลักการใช้คณิตศาสตร์ในรูปแบบง่าย ๆ โดยการเรียนรู้จากการเล่นกิจกรรมที่คุณครูได้ทำแผนจัดประสบการณ์ขึ้น

เทคนิคการสอนของอาจารย์
  •  การจัดการเรียนการสอนเป็นไปอย่างราบรื่น ไม่เคร่งเคลียด อาจารย์ให้นักศึกษาเสนอแนวคิด วิธีการจัดทำกิจกรรมที่หลากหลาย และนำมาปรับำร้อมกับพูดคุบวิธีการเขียนแผนในรูปแบบของอาจารย์
ประเมินผล

ประเมินตนเอง แต่งกายเป็นระเบียบ ไม่เล่นโทรศัพท์ บันทึกเนื้อหาที่เรียนระหว่างการทำการเรียนการสอนของอาจารย์

ประเมินเพื่อน เพื่อนมีสมาธิและเตรียมความพร้อมในการเรียนการสอนสามารถตอบคำถามข้อสงสัยโต้ตอบกับอาจารย์ได้

ประเมินอาจารย์ อาจารย์ดำเนินการเรียนการสอนเป็นไปอย่างลำดับขั้นตอน การแต่งกายเรียบร้อยสถานที่และให้เกียรตินักศึกษา อีกทั้งให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็น / แย้ง อาจารย์ก็รับฟังทุกเมื่อ


วันศุกร์ที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 10

                  วันพุธ ที่ 16 มีนาคม 2559 กลุ่มเรียน101 ห้อง 233 เวลา 08.30-11.30 น.
บรรยากาศภายในห้องเรียน

       สัปดาห์นี้เป็นการเปลี่ยนแปลงตึกอาคารของคณะศึกษาศาสตร์ย้ายไปตึกใหม่จึงทำให้มีกการเรียนการสอนที่กระฉับกว่าปกติอาจารย์ตรวจสอบงานที่ได้มอบหมายไว้เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งเป็น งานกลุ่ม เกี่ยวกับเรื่องหน่วย ซึ่งอาจารย์ให้คำชี้แนะ อาทิเช่น การเลือกหัวข้อหน่วยชนิดกับประเภท ควรแบ่งแยกให้ชัดเจน
 ชนิด ยกตัวอย่าง เรื่องหน่วยผลไม้ = กล้วย ส้ม มะพร้าว ส้มโอ มะเฟือง แตงโม
ประเภท ยกตัวอย่าง เรื่องหน่วยสัตว์ = 1.สัตว์บก 2. สัตว์น้ำ
เมื่อได้รับคำชี้แนะเพิ่มเติมและการตรวดสอบของแต่ละกลุ่มจากอาจารย์ จากนั้นให้นักศึกษากลับไปออกแบบให้เรียบร้อยและทำแผนจัดประสบการณ์หน่วยที่กลุ่มตนเองกำหนด 5 แผน โดยแต่ละแผนสามารถนำมาบูรณาการคณิตศาสตร์ได้

ภาพประกอบการฟังคำชี้แนะจากอาจารย์



อาจารย์และนักศึกษารวมกันพูดคุยเกี่ยวการจัดความรู้เรื่องหน่วย



ความรู้ที่ได้รับ 

  • องค์ประกอบการเขียนเรื่องหน่วยจะต้องมีองค์ประกอบดังนี้   ประเภท,ลักษณะ,การดูแล,ประโยชน์,ข้อควรระวัง เพื่อความชัดเจนในการสร้างแผนของอาทิตย์นั้น ๆ
  • การสร้างหน่วยควรคำนึงบริบทของเด็ก เป็นสิ่งที่เด็กสนใจ และใกล้ตัวไม่ไกลเกินความเป็นจริง
  • ความคิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่ที่จะจัดแผนการสอนในเรื่องหน่วยที่มีความเกี่ยวกับแต่ละหัวที่แตกแยกย่อย
  • การศึกษาเรื่องหน่วย ครูจะต้องศึกษาทุกอย่าง รวมถึงละเอียดเล็ก ๆ น้อย ๆ สิ่งที่เด็กควรเรียนรู้ให้สอดคล้องกับความรู้ใหม่ของตัวเด็กโดยบูรณาการเข้ากับคณิตศาสตร์

ทักษะที่ได้รับ 
  • ทักษะการคิดที่แปลกใหม่
  • ทักษะการลงมือปฏิบัติกิจกรรม
  • ทักษะการใช้เทคโนโลยี
  • ทักษะการฟังที่ดี

การนำความรู้มาประยุกต์ใช้
  •  การเขียนเรื่องหน่วยเป็นไมแม๊ปปิ๊งทำให้เรารู้ว่าควรจัดแผนประสบการณ์รูปแบบใดให้สอดคล้องกับหน่วยที่เรียนรู้ในแต่ละสัปดาห์ของเด็กสามารถนำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ตนเองและการเรียนการสอนที่เป็นระบบขั้นตอนที่ชัดเจน ทำให้เราได้รู้จักสิ่งต่าง ๆ ที่ควรรู้และนำไปปรับใช้ในการทำกิจกรรมต่าง ๆ รวมถึงเสริมสร้างความรู้พื้นฐานในเรื่องต่าง ๆ จาก หน่วยที่เรียนรู้  เด็กจะไ้เรียนรู้เรื่องหน่วยนั้น อย่างเป็นระบบและไม่เกิดความสับสนในระหว่างที่เรียน

เทคนิคการสอนของอาจารย์
  •  ในระหว่างที่ทำการเรียนการสอน อาจารย์ยกตัวอย่างให้นักศึกษาสามารถเข้าใจในรายละเอียดที่อาจารย์พูดถึงพร้อมกับให้ลงมือปฏิบัติเพื่อให้เกิดความเข้าใจมากขึ้น
ประเมินผล

ประเมินตนเอง มีความมุ่งมั่น แต่งกายเป็นระเบียบ บันทึกเนื้อหาที่เรียนระหว่างการทำการเรียนการสอนของอาจารย์

ประเมินเพื่อน เพื่อนมีสมาธิและเตรียมความพร้อมในการเรียนการสอนสามารถตอบคำถามข้อสงสัยโต้ตอบกับอาจารย์ได้

ประเมินอาจารย์ อาจารย์ดำเนินการเรียนการสอนเป็นไปอย่างลำดับขั้นตอน การแต่งกายเรียบร้อยไม่โป๊ให้เกียรตินักศึกษาในการแสดงความคิดเห็น


วันอังคารที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 9

วันพุธ ที่ 9 มีนาคม 2559 กลุ่มเรียน101 ห้อง 233 เวลา 08.30-11.30 น.


บรรยากาศภายในห้องเรียน

       สัปดาห์นี้ทุกคนมาถึงห้องตรงเวลาและนั่งเป็นระเบียบเรียบร้อย บรรยากาศภายในห้องเงียบและพร้อมที่จะเรียนในสัปดาห์นี้ การจัดการเรียนการสอนดำเนินเป็นไปตามขั้นตอนของอาจารย์กิจกรรมที่ได้ลงมือกระทำ คือ การเรียนรู้เรื่องหน่วยจากการแตกย่อยหัวข้อเป็นรูปแบบแผนผังความคิด เป็นการฝึกและพัฒนาตนให้เกิดประโยชน์จากการเขียนในมุมของเด็ก โดยอาจารย์ให้เลือกหน่วยของตนเองที่สนใจและลงมือกระทำไม่มีผิดถูก
ความรู้ที่ได้รับ
  • อาจารย์ทบทวนความรู้จากการมอบหมายในการศึกษาดูงานที่ โรงเรียนอนุบาลพิบูลเวศม์โดยการสอบถามพูดคุยในหัวข้อที่ว่า การบูรนาการที่มีคณิตศาสตร์ในการเรียนรู้ของเด็ก จากการพูดคุยผลสรุปได้ดังนี้   สาระและมาตรฐานการเรียนรู้
สาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ
สาระที่ 2 การวัด
สาระที่ 3 เรขาคณิต
สาระที่ 4 พีชคณิต
สาระที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
สาระที่ 6 ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
สิ่งที่เกิดขึ้นจากการไปศึกษาดูงานเด็กได้รับความรู้ที่เห็นเด่นชัด คือ
กลุ่มสาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ = เด็กรู้จักการนับตัวเลขสามารถบอกจำนวนต่าง ๆ  ที่คุณครูสอนได้
กลุ่มสาระที่ 2 การวัด = เด็กรู้เกี่ยวกับความสูง น้ำหนัก สามารถบอกถึงลักษณะของสิ่งต่าง ๆ ได้
กลุ่มสาระที่ 3 เรขาคณิตศาสตร์ = รู้จักรูปทรงต่าง ๆ จากการวาดรูปและเล่นตามมุม อีกทั้งเรียนรู้อวัยวะรู้จักซ้าย / ขวา เป็นต้น

กลุ่มสาระที่ 4 พีชคณิต 
  • การจัดทำแผนเรื่องหน่วยต่าง ๆ โดยการทำหัวข้อที่เด็กควรรู้เกี่ยวหน่วยที่จะศึกษาซึ่งต้องได้มาจากแหล่งข้อมูลที่เป็นมาตรฐานเพื่อเป็นแนวทางในการจัดประสบการณ์ มี 4 ข้อ 
  1. เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก
  2. สิ่งต่าง ๆ รอบตัว
  3. บุคคลและสถานที่
  4. ธรรมชาติรอบตัว
การนำเสนอของเพื่อน

                                                  1. นางสาวภธรธร  ราชนิพนธ์ นำเสนอวิดีโอ

2. นางสาวจิราภรณ์  ฟักเขียว   กดลิงค์
วิดีโอโทรทัศน์ครู เรื่องไข่ดีมีประโยชน์

        โดยคุณครูรจนา สังวรสินธุ์ โรงเรียนวัดไทรใหญ่ จังหวัดนนทบุรี ได้สอนกิจกรรมเสริมประสบการณ์เรื่องไข่ดีมีประโยชน์ทำให้เด็กได้สามารถเรียนรู้เนื้อหาเกี่ยวกับไข่ ชนิดของไข่ส่วนประกอบของไข่ ประโยชน์ของไข่ว่าทำให้ร่างกายแข็งแรงแล้วก็อยากให้เด็กอยากหรือชอบที่จะรับประทานไข่ แล้วก็เด็กยังสามารถนำไข่มาประกอบอาหารได้

กิจกรรมที่ 1 คือให้เด็กเล่นเกมส่งไข่เป็ดโดยเด็กจะมีประสบการณ์เดิมแล้วว่าไข่เป็นสิ่งที่แตกได้ง่ายกิจกรรมนี้จะเป็นการฝึกสมาธิให้เด็กได้คิดว่าจะทำอย่างไรส่งไข่ให้เพื่อนแล้วไข่ไม่แตกเวลาส่งไข่ให้เพื่อนตาต้องมองไปที่เพื่อนตากับมือต้องสัมพันธ์กันทำให้เพื่อนสามารถรับไข่ได้ไข่ก็จะไม่ตกลงพื้น

กิจกรรมที่ 2 ครูเล่านิทานเรื่องไข่ของใครโดยนิทานเรื่องนี้เด็กจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับสีและได้รู้จักสัตว์เพิ่มมากขึ้นได้รู้ว่าสัตว์อะไรที่ออกลูกเป็นไข่บ้างในขณะเล่านิทานเด็กจะมีส่วนร่วมในการตอบคำถามของครูซึ่งการมีส่วนร่วมทำให้เด็กกล้าแสดงออกแล้วทำให้เด็กมีประสบการณ์มากขึ้นเกี่ยวกับเนื้อหาในนิทานครูนำนิทานที่เป็นสัตว์ของจริงมาให้เด็กดูเพราะจากในนิทานกับรูปภาพของจริงนั้นแตกต่างกันให้เด็กมีประสบการณ์จริงๆว่าสัตว์ที่ออกลูกเป็นไข่มีรูปร่างลักษณะเป็นอย่างไรเด็กจะเห็นภาพชัดเจนเป็นรูปธรรมและเข้าใจได้ง่าย

กิจกรรมที่ 3ให้เด็กได้เรียนรู้เกี่ยวกับไข่ให้เด็กได้ใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการสังเกต จำแนก เปรียบเทียบดูว่าไข่แต่ละชนิดมีลักษณะอย่างไรแตกต่างกันอย่างไรซึ่งเด็กให้เด็กช่วยกันแยกไข่จากตะกร้าใบใหญ่มาใส่ตะกร้าใบเล็กๆที่ครูแบ่งไว้ทั้งหมดห้าตระกล้าเล็กๆ นอกจากกระบวนการทางวิทยาศาสตร์แล้วไข่ยังบูรนาการเข้ากับคณิตศาสตร์ได้อีกด้วยโดยเด็กได้เรียนรู้ในเรื่องของจำนวนตัวเลขได้มีการนับเปรียบเทียบมากน้อยจำนวนเท่ากันไม่เท่ากัน โดยครูให้เด็กช่วยนับไข่ในตระกล้าที่เด็กช่วยกันแยกว่าแต่ละตะกร้ามีใครกี่ฟองครูถามเด็กว่าไข่ตะกร้าไหนเยอะที่สุดเด็กตอบว่าไข่นกกระทาเพราะมี 10 ฟอง ครูถามว่าใครในตะกร้าไหนน้อยที่สุดนั้นก็คือไข่เป็ดเพราะมีอยู่ 2ฟอง ละครูก็ถามว่าตะกร้าไหนมีจำนวนไข่ที่เท่ากันเด็กก็ตอบว่าไข่เค็มกับไข่เยี่ยวม้าที่มีจำนวนไข่ที่เท่ากันครูจึงพิสูจน์โดยการนำไข่มานับกันเป็นคู่หนึ่งต่อหนึ่งผลพิสูจน์คือไข่ทั้งสองมีจำนวนที่เท่ากัน หลังจากที่เด็กได้รู้ส่วนนอกของไข่ เเล้วเด็กก็จะได้เรียนรู้ส่วนประกอบของไข่ว่าไข่แต่ละชนิดมีส่วนประกอบที่แตกต่างกันอย่างไรเช่นไข่ขาวของไข่เยี่ยวม้าจะมีเนื้อสีน้ำตาลดำส่วนไข่เค็มเนื้อไข่ขาวของไข่เค็มจะมีสีขาวเด็กจะได้รู้ความแตกต่างระหว่างไข่เค็มกับไข่เยี่ยวม้า ไข่เป็ดกับไข่ไก่อาจจะมีลักษณะใกล้เคียงกันครูควรพยายามชี้แหนะให้เด็กเห็นถึงความแตกต่างระหว่างไข่เป็ดกับไข่ไก่โดยอาจจะมีคำถามว่าลักษณะของไข่แดงของไข่เป็ดและไข่ไก่เป็นอย่างไรสีเหมือนกันไหมแล้วตอกไข่ให้เด็กดูเด็กก็จะสามารถตอบได้ว่าไข่เป็ดและไข่ไก่มีไข่แดงที่สีแตกต่างกัน ขนาดของไข่เป็ดใหญ่กว่าไข่ไก่

กิจกรรมที่ 4 เป็นกิจกรรมคุกกี้คือไข่หวานโดยเด็กสามารถประกอบอาหารที่มีขั้นตอนง่ายๆได้และเด็กจะเกิดความภาคภูมิใจที่สามารถประกอบอาหารรับทานเองได้ครูให้เด็กร่วมกันทำคุกกี้เด็กได้รู้ปริมาณการใส่เครื่องปรุงว่าต้องใส่น้ำหกถ้วยตวงและใส่น้ำตาลหนึ่งถ้วยตวง ขั้นตอนการตอกไข่ครูได้สาธิตให้เด็กดูก่อนพอให้เด็กตอกไข่ครูก็สามารถเข้าไปช่วยได้เพราะเด็กอาจจะยังไม่มีประสบการณ์การตอกไข่กล้ามเนื้อมือกับตายังไม่ประสานสัมพันธ์กันเด็กไม่สามารถกะได้ว่าต้องกดมือให้ไข่ลงตรงถ้วยพอดีหลังจากนั้นให้เด็กลงมือตอกไข่ใส่ถ้วยแล้วใส่ลงหม้อโดยครูสาธิตในการใส่ไข่ลงหม้ออย่างไรให้ถูกวิธี เด็กได้มีประสบการณ์เรียนรู้ได้ด้วยตนเองจากการกระทำ leaning by doing เด็กจะเกิดประสบการณ์ตรงและเป็นพื้นฐานที่สำคัญในการศึกษาที่สูงขึ้น

นางสาวสุวนัน  สายสุด นำเสนอวิจัย

วิจัยเรื่อง การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย โดยใช้รูปแบบกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้

          ในการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองที่มุ่งศึกษาพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยใช้รูปแบบกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้-ความมุ่งหมายของวิจัย  เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้
สมมติฐานในการวิจัย  เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดรูปแบบกิจกรรมสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้มีพัฒนาการทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ก่อนและหลังการทดลองแตกต่างกัน

ขอบเขตการวิจัย นักเรียนระดับปฐมศึกษา ชาย-หญิง โรงเรียนอนุบาลละอออุทิศ จำนวน 10 ห้อง

เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า1.แผนการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้2.แบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์การสร้างแผนการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้

สรุปผลวิจัย  เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์มีคะแนนเฉลี่ยทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ โดยรวม 5 ทักษะและการจำแนกรายทักษะ คือ ทักษะการบอกตำแหน่ง ทักษะการจำแนก ทักษะการนับ ทักษะการรู้ค่าของจำนวน และทักษะการเพิ่ม-ลด อยู่ในระดับที่ดี และเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ มีพัฒนาการทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ในทุกทักษะสูงขึ้น

แผนการสอนการจัดกิจกรรมรูปแบบศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้
หน่วย ต้นไม้  หน่วยย่อย ขนาดของต้นไม้
มโนทัศน์  ต้นไม้มีขนาดแตกต่างกัน เช่น ต้นใหญ่ ต้นเล็ก ต้นสูง
จุดประสงค์  สามารถจำแนกจำแนกขนาดต้นไม้ได้  

กิจกรรมศิลปะ  ศิลปะค้นหากิจกรรมการเรียนการสอน
ขั้นนำ1.กระตุ้นการเรียนรู้ คือ ให้สิ่งเร้าที่สอดคล้องกับสาระ
        2.กรองสู่มโนทัศน์ คือ กระตุ้นให้สะท้อนคิดและโยงความรู้เพื่อให้เข้าใจมากขึ้นขั้นสอน
        3.ครูพาเด็กออกไปสังเกตต้นไม้ในบริเวณสนามเล่นในโรงเรียน บอกจุดประสงค์ว่าจะเรียนเรื่องขนาดของต้นไม้
        4.สนทนา ตั้งคำถามกับเด็กเกี่ยวกับต้นไม้ เช่น เด็กๆคิดว่าต้นไม้ในสนามมีขนาดเท่ากันหรือไม่  ต้นไม้ต้นไหนใหญ่ที่สุด ต้นไม้มีจำนวนกี่ต้น (ให้เด็กร่วมกันนับ)
        5.ครูแจกกระดาษให้เด็กๆวาดรูปต้นไม้ที่ตนเองชอบสรุปให้เด็กๆถามเกี่ยวกับผลงานของเพื่อนและร่วมกันสรุปการทำกิจกรรมในครั้งนี้

สื่อ
1.ดินสอ
2.กระดาษ
3.ต้นไม้ที่สนามเด็กเล่น (ของจริง)

ประเมิน 1. สังเกตการตอบคำถามเกี่ยวกับต้นไม้

                2. สังเกตความสนใจในการทำกิจกรรม

             3. สังเกตผลงานศิลปะของเด็ก


ทักษะที่ได้รับ 
  • ทักษะการคิดที่แปลกใหม่
  • ทักษะการคิดออกแบบ
  • ทักษะการคิดดัดแปลง
  • ทักษะการลงมือปฏิบัติกิจกรรม
  • ทักษะการใช้เทคโนโลยี
  • ทักษะการฟังที่ดี

การนำความรู้มาประยุกต์ใช้
  •  สามารถนำการสร้างไมแม๊ปปิ้งที่เราได้ทั้งการคิด การจำเพราะ แตกแยกย่อยในส่วนของหัวข้อต่าง ๆ ทำให้คิดอย่างมีเหตุผล รอบคอบ สามารถนำไปใช้ในอนาคตอันใกล้ได้

เทคนิคการสอนของอาจารย์
  •  อาจารย์มีคำถามเพื่อให้นักศึกษาสามารถคิดและตอบคำถามฝึกให้นักศึกษาเรียนรู้ที่หลากหลายผ่านกิจกรรมก่อนเข้าสู่บทเรียนสอดแทรกองค์ความรู้ที่นำไปสู่การบูรณากาในการสอนให้กับเด็ก
ประเมินผล

ประเมินตนเอง มีความตั้งใจในการเรียนการสอน มุ่งมั่นและศึกษาบันทึกเนื้อหาที่เรียนระหว่างการทำการเรียนการสอนของอาจารย์

ประเมินเพื่อน เพื่อนมีสมาธิและเตรียมความพร้อมในการนำเสนอของอาทิตย์นี้ได้ดีและให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมหรือตอบคำถามอยู่เสมอ

ประเมินอาจารย์ อาจารย์มีกิจกรรมที่ส่งเสริมก่อนการเข้าสู่บทเรียนดด้วยการทำกิจกรรมที่แปลกใหม่อยู่เสมอเพื่อให้นักศึกษาได้มีสมาธิและดำเนินการเรียนการสอนเป็นไปอย่างลำดับขั้นตอน