วันศุกร์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2559

สรุป วิจัยเกี่ยวกับคณิตศาสตร์

เรื่อง ผลการจัดประสบการณ์โดยใช้เกมเชิงคณิตศาสตร์ที่มีต่อความสามารถพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย   (สุมาพร เฉลิมผจง* บัญญัติ ชานาญกิจ**)



       การเปรียบเทียบจำนวนของเด็กปฐมวัยที่มีคะแนนความสามารถพื้นฐานทางคณิตศาสตร์หลังได้รับการจัดประสบการณ์โดยใช้เกมเชิงคณิตศาสตร์ผ่านเกณฑ์เพื่อเปรียบเทียบความสามารถพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ก่อนเรียนและหลังเรียนที่ได้รับการสอนโดยการจัดประสบการณ์เกมการศึกษา
 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย
นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1 โรงเรียนบ้านไร่ดอนแตง ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 จำนวน 30 คน
ระยะเวลาในการทดสอบ สัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 30 นาที รวม 4 สัปดาห์  
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
1) แผนการจัดประสบการณ์โดยใช้เกมเชิงคณิตศาสตร์ เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์โดยใช้เกมเชิงคณิตศาสตร์ ร้อยละ 74มีความสามารถพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็มซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
2) แบบทดสอบความสามารถพื้นฐานทางคณิตศาสตร์เป็นแบบปรนัย  เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์โดยใช้เกมเชิงคณิตศาสตร์มีความสามารถพื้นฐานทางคณิตศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
 แผนการจัดประสบการณ์โดยใช้เกมเชิงคณิตศาสตร์ เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์โดยใช้เกมเชิงคณิตศาสตร์ จานวนร้อยละ 74 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ของคะแนนเต็ม
แบบทดสอบความสามารถพื้นฐานทางคณิตศาสตร์เป็นแบบปรนัย ปฐมวัยที่ได้รับการสอนโดยการจัดประสบการณ์โดยใช้เกมเชิง คณิตศาสตร์มีความสามารถพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สูงกว่าก่อนจัดประสบการณ์เกมการศึกษาโดยใช้เกม เชิงคณิตศาสตร์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

สรุปผล
การเปรียบเทียบความสามารถพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ก่อนเรียนและหลังเรียนโดยการจัดประสบการณ์เกมเชิงคณิตศาสตร์ในการเรียนการสอนซึ่งเป็นกิจกรรมทีน่าสนใจ ซึ่งมีสื่อประกอบการเล่น ทำให้เด็กเกิดความสนุกสนานอีกทั้งบูรณาการเข้ากับธรรมชาติการเล่นของเด็ก เด็กได้รู้จักการเปรียบเทียบ ความหนา-บาง การจัดเรียงลำดับ ความสามารถทางคณิตศาสตร์เหล่านี้ จะเป็นพื้นฐานในการเรียนรู้ในลำดับต่อไปโดยเฉพาะทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ซึ่งเป็นองค์ประกอบและรากฐานสำคัญของการพัฒนาทางด้านสติปัญญา กิจกรรมการเล่นที่ช่วยฝึกความสามารถด้านการสังเกต การคิดหาเหตุผล และการแก้ปัญหาโดยใช้เวลาสั้นที่สุด จากการจัดประสบการณ์การเรียนการสอนโดยใช้เกมเชิงคณิตศาสตร์มาจัดกิจกรรมจึงสามารถพัฒนาพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยได้ยิ่งขึ้น



*นักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการหลักสูตรและการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, 2556

**ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ประจาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น