วันพุธที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 4

                                    
 วันพุธ ที่ 27 มกราคม 2559 กลุ่มเรียน101 ห้อง 233 เวลา 08.30-11.30 น.


บรรยากาศภายในห้องเรียน

        สัปดาห์นี้ดิฉันมาตรงต่อเวลาค่ะเป็นสัปดาห์ที่สภาพแวดล้อมมีการเปลี่ยนแปลงทำให้อากาศหนาวทั่วกรุงเทพฯบรรยากาศช่วงเช้าเหมือนตอนเช้ามืดมาก ๆ เมื่อเพื่อนมากันครบแล้วอาจารย์ได้ให้เขียนชื่อติดผนังเพื่อจะเช็คว่าใครมาหรือไม่มา ตัวเองรู้สึกตื่นเต้นและยังคงสติไม่นิ่งมากมีวอกแวกอาจจะเกิดจากอากาศที่เย็นสบายช่วงที่อาจารย์ถามคำถามเพื่อน ๆ รับฟังและเสนอความคิดเห็นของตนเองได้อย่างดีทำให้บรรยากาศภายในห้องเป็นไปอย่างราบรื่นค่ะ สัปดาห์นี้เป็นการนำเสนอบทความจากการศึกษาค้นคว้าของดิฉันค่ะ
ขอบคุณเพื่อนที่เก็บภาพบรรยากาศการนำเสนอในครั้งนี้ค่ะ^•^


ความรู้ที่ได้รับ

  • สิ่งที่ใกล้ตัวสามารถนำมาประยุกต์ใช้ให้เกิดเป็นองค์ความรู้ทางคณิตศาสตร์ให้เด็กปฐมวัยในทักษะทางคณิตศาสตร์แบบง่าย ๆ จากการเรียนรู้และลงมือกระทำด้วยวิธีการของตัวเด็ก เช่น ตารางจำนวนการมาเรียน
  • การนำเสนอของดิฉันในวันนี้มีสิ่งที่ต้องนำไปปรับปรุงจากคำแนะนำของอาจารย์และเพื่อน ๆ ภายในห้องที่ช่วยกันออกความคิดเห็นเกี่ยวกับบุคลิกภาพ การเตรียมความพร้อม การตอบคำถามด้วยความมั่นใจ ขั้นตอนการนำเสนอเพื่อให้เป็นไปในทางที่ดีในครั้งต่อไป
  • เรียนรู้เรื่องเนื้อหาต่อจากสัปดหา์ที่แล้ว  สาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ
    จำนวนมีความหลากหมายในการแสดงให้เข้าใจ คือ ไม่จำเป็นต้องเป็นตัวเลขสามารถแทนเป็นสัญลักษณ์/รูปภาพ ได้  การรวมหมายถึง รวมสิ่งต่าง ๆ สองกลุ่มที่มีผลรวมไม่เกิน 10  การแยกหมายถึง การแยกกลุ่มย่อย่อยออกจากกลุ่มใหญ่
    สาระที่ 2  การวัด น้ำหนัก  ปริมาตร  เงิน และเวลา
    สาระที่ 3 เรขาคณิต การเข้าใจระยะทิศทางในการบอกตำแหน่งรวมถึงการเปลี่ยนแปลงของรูปทรงเรขาคณิตที่มีรูปแบบที่แปลกใหม่ที่เกิดจากกระทำ เช่น จากรูปทรงสามเหลี่ยมกลายเป็นรูปทรงสีเหลี่ยม เป็นต้น
  • คำศัพท์ทางคณิตศาสตร์ ได้แก่ ตัวเลข ขนาด-รูปร่าง อุณหภูมิ ที่ตั่ง ค่าของเงิน ความเร็ว โดยแบ่งการเรียกแต่ละชื่อดังนี้  หน่วยวัดค่าของเงิน
       หน่วยวัดความเร็ว

 หน่วยสกุลเงิน 10 ประเทศ
  • บรูไน = ดอลล่าร์บรูไน
  • กัมพูชา = เรียล
  • อินโดนีเซีย = รูเปียห์
  • ลาว = กีบ
  • มาเลเซีย = ริงกิต
  • ฟิลิปปินส์ = เปโซ
  • สิงค์โปร์ = ดอลล่าร์สิงค์โปร์
  • พม่า = จ๊าด
  • เวียดนาม = ดง
  • ไทย = บาท                     
   *เพิ่มเติมจากการตอบคำถามภายในห้องเรียน

  •  ขั้นการนำเสนอ 3 คน ต่อ 1 สัปดาห์
บทความ โดยดิฉัน นางสาวเกตุวรินทร์  นามวา กดลิงค์ได้เลยค่ะ
วิจัย โดยนางสาวจิรญา พัวโสภิต
วิดีโอ โดยนางสาวบงกช  เพ่งหาทรัพย์
   วิดีโอจากโทรทัศน์ครูโดยการสอนคณิตศาสตร์ด้วยสื่อจากนิทาน จากมหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ จังหวัดฉะเชิงเทรา จากความมุ่งหวังที่จะสร้างเจคตรที่ดีต่อรายวิชาคณิตศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัย จำเป็นต้องเรียนรู้เทคนิคการสอนในรูปแบบที่แปลกใหม่เพื่อสร้างความตื่นเต้น และความน่าสนใจ ที่ไม่ใช่แค่การนับจำนวนและการท่องจำอย่างเดียว อาจารย์ธิดารัตน์ได้นำ "นิทาน" เป็นสื่อช่วยสอนเพิ่มทักษะทางคณิตศาสตร์ ปลูกฝังเจคติที่ดีแก่เด็กโดยการเล่า นิทานลูกหมู 3 ตัว นำมาบูรณาการเด็กได้ทราบถึงการเปรียบเทียบ นำ้หนัก และขนาด รวมถึงจำนวนของลูกหมู พร้อม ๆ กับช่วยกันนับการเป่าลมของเจ้าหมาป่า ซึ่งเด็กปฐมวัยทุกคนมีความชอบนิทานอยู่แล้ว จึงทำให้การเรียนคณิตศาสตร์จากการบูรณาเข้ากับสื่อนิทานทำให้เด็กมีพัฒนาการที่ดีมากยิ่งขึ้น
  • บทเพลงเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ ได้เรียนรู้การเรียงลำดับเหตุการณ์จากเพลงทั้ง 7 บทเพลง
                                                  เพลง สวัสดียามเช้า

                เนื้อเพลง  ตื่นเช้าแปลงฟันล้างหน้า   อาบน้ำแล้วมาแต่งตัว
                                      กินอาหารของดีมีทั่ว          หนูเตรียมตัวจะไปโรงเรียน
                             สวัสดีคุณพ่อ คุณแม่          ไม่รีรอรีบไปโรงเรียน
                                    หลั้นล้า หลั้นลา หลั้นล่า หลั้นลันลา หลั้นลา หลั้นล้า.

                                                   เพลง  สวัสดีคุณครู
     เนื้อเพลง  สวัสดีคุณครูที่รัก  หนูจะตั้งใจอ่านเขียน
    *ยามเช้าเรามาโรงเรียน (ซ้ำ*)
        หนูจะพากเพียน ขยันเรียนเอย.

                                                  เพลง   หนึ่งปีมีสิบสองเดือน
               เนื้อเพลง  หนึ่งปีมีสิบสองเดือน   อย่าลืมเลือนจำไว้ให้มั่น
       *หนึ่งสัปดาห์นั้นมีเจ็ดวัน (ซ้ำ*) 
                         อาทิตย์ จันทร์ อังคาร พุธ พฤหัส ศุกร์ เสาร์

                                                  เพลง   เข้าแถว
           เนื้อเพลง   เข้าแถว  เข้าแถว     อย่าล่ำแนวยืนเรียงกัน
                    อย่ามัวแชเชือน   เดินตามเพื่อนให้ทัน
           ระวังเดินชนกัน     เข้ากันว่องไว

                                                  เพลงจัดแถว 
       เนื้อเพลง  สองมือเราชูตรง แล้วเอาลงมาเสมอกับบ่า
                                    ต่อไปย้ายไปข้างหน้า(ซ้ำ) แล้วเอาลงมาอยู่ในท่ายืนตรง 

                                                  เพลง ซ้าย-ขวา
เนื้อเพลง ยืนให้ตัวตรง ก้มลงตบมือแผละ 
แขนซ้ายอยู่ไหน หันตัวไปทางนั้นแหละ

เพลง ขวดห้าใบ
เนื้อเพลง ขวดห้าใบวางอยู่บนกำแพง (ซ้ำ)

เราเอาหินปาไปให้มันกลิ้งตกลงมา
คงเหลือขวดกี่ใบวางอยู่บนกำแพง ลดลงเหลือสี่ 
                                      ลดลงไปเรื่อยๆ ไม่มีขวดเหลือเลยวางอยู่บนกำแพง
                   ** หมายเหตุเพลงนี้จำนวนขวดจะลงทีละ 1 ขวด จนไม่เหลือสักใบ



ทักษะที่ได้รับ 
  • ทักษะการคิดแก้ปัญหา
  • ทักษะการวิเคราะห์ตอบคำถาม
  • ทักษะการนำเสนอหน้าชั้นเรียน
  • ทักษะการฟังที่ดี

การนำความรู้มาประยุกต์ใช้
   สามารถนำความรู้มาประยุกต์ใช้ คือ การนำเสนอในระหว่างชั้นเรียนความมั่นใจในการนำเสนอ ผิดถูก อย่างไรก็ไม่ต้องกังวล เรียนรู้สิ่งที่ผิดพลาดและก้าวเดินต่อไปข้างหน้า ทุกคนที่สำเร็จได้ต่างก็เคยมีบาดแผลจากการเดินทาง ฉะนั้นหนทางยังอีกยาวไกลถ้าหัวใจยังไม่ยอมแพ้ก็ไม่มีอะไรที่จะต้องกลัวสู้ ๆ กันต่อไป

เทคนิคการสอนของอาจารย์
  • อาจารย์มักจะมีคำถามให้นักศึกษาช่วยกันระดมความคิดในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ช่วยกันสรุปเป็นคำพูดของตัวเองเพื่อให้ง่ายต่อความเข้าใจ
  • สิ่งที่อาจารย์เคี่ยวเข็ญในการทำงานที่ได้รับมอบหมายเพื่อที่จะให้นักศึกษาตระนักถึงความมีระเบียบต่อการทำงานเพื่อในอนาคตเจอเรื่องที่หนักหนาเราจะได้ไม่ย้อท้อและผ่านอุปสรรคไปได้ด้วยดี
ประเมินผล
ประเมินตนเอง มีความเข้าใจถึงเนื้อหา 80 %และพร้อมกับการพัฒนาในการเรียนการสอนครั้งต่อ ๆ ไป

ประเมินเพื่อน ทุกคนมีความตั้งใจ มุ่งมั่นทุกครั้งที่มีคำถามจากอาจารย์ตอบคำถามของอาจารย์ได้ทุกเมื่อ

ประเมินอาจารย์ อาจารย์เป็นคนรอบคอบ มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย ไม่ตึงเครียดระหว่างการสอน มีความเตรียมพร้อมในการเรียนการสอนมาอย่างดีรวมถึงแนวการสอนที่เน้นให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นและพลักดันให้นักศึกษากล้าแสดงออกผ่านการตั้งคำถามของตนเองเมื่อมีความสงสัย




วันอังคารที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 3



วันพุธ ที่ 20 มกราคม 2559 กลุ่มเรียน101 ห้อง 233 เวลา 08.30-11.30 น.


 บรรยากาศภายในห้องเรียน
สัปดาห์นี้ดิฉันมาสายค่ะโดยอาจารย์ได้อธิบายเรื่องราวเกี่ยวกับคณิตศาสตร์พื้นฐานของเด็กปฐมวัยซึ่งได้สอบถามข้อมูลจากเพื่อนและต่อมาอาจารย์ได้เช็คชื่อครั้งนี้เป็นการมาสายครั้งแรกค่ะ ก่อนหน้านี้อาจารย์ได้แจกกระดาษเหมือนกับสัปดาห์ที่แล้วโดยให้นักศึกษาแบ่งกระดาษ A4ให้เป็น 4 ส่วน และชีกเป็นแนวนอนจะได้ทั้งหมด 4 แผ่น เก็บ 1 แผ่น อีก 3 แผ่น รวบรวมส่งคืนอาจารย์ แล้วกำหนดให้ออกแบบอย่างไรก็ได้ที่สามารถเขียนชื่อตัวเองให้สมดุลกับกระดาษที่มีจากนั้นอาจารย์ได้อธิบายคณิตศาสตร์ที่แฝงอยู่ในกระบวนการเขียนชื่อตัวเอง
พัก 5 นาที เป็นการนำเสนองานที่มอบหมายจากสัปดาห์ที่แล้วคือ
1.บทความเกี่ยวกับคณิตศาสตร์
 2.วิจัยเกี่ยวกับคณิตศาสตร์
 3.วีดีโอเกี่ยวกับคณิตศาสตร์
ขั้นตอนการนำเสนอเรียงตามเลขที่ของนักศึกษาสัปดาห์ละ 3 คน จัดเรียงการนำเสนอจนครบคนสุดท้ายตามลำดับ  ต่อมาอาจารย์อธิบายเชิงเนื้อหาเกี่ยวกับเด็กปฐมวัยเรียนรู้อะไรในวิชาคณิตศาสตร์

ความรู้ที่ได้รั   

  • มีความรู้รอบตัวคือ คำขวัญวันครู ปีพ.ศ. 2559 กล่าวว่า "อนาคตก้าวไกล ด้วยครูดี มีคุณภาพ" สอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมคือได้ตระนักถึงการเป็นครูที่ดีมีคุณภาพจากคำกล่าวในคำขวัญวันครูแล้วหรือยัง? สามารถนำมาสะท้อนต่อตนเองในการที่เป็นครูในภายภาคหน้า
  • การเขียนชื่อลงกระดาษ 1 ส่วน ซึ่งไม่ใช่แค่การเขียนเพียงอย่างเดียวที่ได้รับความรู้แต่เป็นการที่อธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับความสมดุล บางครั้งการสอนเด็กไม่จำเป็นต้องมีระเบียบมากจนเกินไปเพราะจะทำให้เด็กรู้สึกเครียดเมื่อเครียดความคิดสร้างสรรค์ที่มีในตัวเด็กอาจจะไม่แสดงออกมา
  • เกิดแรงบรรดาลใจที่ดีงามแก่ตัวเราและวิชาชีพ
  • ขั้นการนำเสนอ 
  • บทความ เรื่องเด็กปฐมวัยเรียนรู้อะไรในคณิตศาสตร์ นำเสนอโดยนางสาวไพจิตร ฉันทรเกษมคุณ กล่าวว่า เด็กเรียนรู้ถึงลักษณะ รูปทรงเขาคณิต การวัด ปริมาตร ทิศทาง เวลา เป็นต้น กระบวนการที่เด็กจะเรียนรู้ทบทวนเนื้อหาพื้นฐาน สอนเนื้อหาใหม่ มรการสรุป โดยมีการฝึกทักษะ และปฏิบัติรวมถึงประเมิน สามารถนำความรู้ไปใช้ข้อคำนึกถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล เด็กสามารถได้เรียนได้ทั้งสถานที่ภายในและภานนอกตามความสนใจร่วมกัน                                                                                                                                                                                               งานวิจัย  ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับของเด็กปฐมวัยที่ได้รับจากสาน นำเสนอโดยนางสาวภาวิดา  บุญช่วย กล่าวว่า ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์โดยรวมหลังทำกิจกรรมสานสูงกว่าก่อนทำกิจกรรม
    เด็กที่มีทักษะพื้นฐานคณิตศาสตร์ก่อนทำการทดลองโดยรวมในระดับพอใช้ แต่หลังจัดกิจกรรมเด็กมีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์โดยรวมในระดับดี
    วีดีโอ กิจกรรมคณิตปฐมวัยจากธรรมชาติรอบตัว นำเสนอโดยนางสาวสิริกัลยา  บุญทนแสนทวีสุข
    6 กิจกรรมหลัก   กิจกรรม : ปูมีขา (เคลื่อนไหวและจังหวะ)    กิจกรรม : ต้นไม้ใกล้ตัว (เสริมประสบการณ์)                                                            
                              กิจกรรม : ใบไม้แสนสวย (สร้างสรรค์)           กิจกรรม : มุมคณิต (เสรี)
                              กิจกรรม : เกมกระต่ายเก็บของ (กลางแจ้ง)  กิจกรรม : เกมก้อนหินหรรษา (เกมการศึกษา)
เด็กเรียนรู้การใช้เงิน รู้จักเบอร์โทรศัพท์ของผู้ปกครอง ป้ายทะเบียนรถ ตัวเลขต่าง ๆ เป็นต้น ที่สำคัญคือ เด็กมีความสุขในการทำกิจกรรมและการเรียนรู้

  • เรียนรู้ถึงเนื้อหาเกี่ยวกับ "เด็กปฐมวัยเรียนรู้อะไรในวิชาคณิตศาสตร์" คือ การที่เด็กเรียนรู้เพื่อนเป็นการเตรียมความพร้อมในด้านต่าง ๆ ทางคณิตศาสตร์ เพื่อพัฒนาในขั้นประถมศึกษา สาระมาตรฐานที่เด็กจะได้เมื่อจบการศึกษาปฐมวัย คือ สาระทั้ง 6 ได้แก่
                     - สาระที่ 1 การจัด                         - สาระที่ 4 พีชคณิต
                    - สาระที่ 2 การจัด                          - สาระที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
                   - สาระที่ 3 เรขาคณิต                      - สาระที่ 6 ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
       เด็กจะมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ขั้นพื้นฐานและความพร้อมในการพัฒนาในรายวิชาต่าง ๆ 

ทักษะที่ได้รับ 
  • ทักษะการแบ่งกระดาษ
  • ทักษะการจัดระบบความคิด
  • ทักษะการใช้ทิศทาง
  • ทักษะการฟังที่ดี

การนำความรู้มาประยุกต์ใช้
   สามารถนำความรู้มาประยุกต์ใช้ คือ การจัดระบบการคิด เมื่อเราทำอะไรที่เป็นระเบียบเรียบร้อยมักจะส่งผลดีต่อเราและบุคคลที่มองเราเป็นตัวอย่าง อาทิเมื่อเราเป็นครูสิ่งที่ทำทุกอย่างแล้วเด็กเห็นเด็กจะเกิดการซึ้มซับกับสิ่งเหล่านี้และกลายเป็นผลดีต่อ ๆ ไป

เทคนิคการสอนของอาจารย์
  • สอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมแก่นักศึกษา อาทิ เรื่องการตระนักถึงการเป็นครูที่ดี
  • ชี้แนะผิดถูกให้แก่นักศึกษา
  • ใช้คำถามมากกว่าคำตอบ โดยให้นักศึกษาคิดหาคำตอบ
  • มุ่งเน้นการแก้ปัญหาระหว่างอาจารย์และตัวนักศึกษาเอง
  • เปิดโอกาศให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นโดยไม่มีผิด/ถูก
ประเมินผล
ประเมินตนเอง มีความเข้าใจถึงเนื้อหา 80 %และพร้อมกับการพัฒนาในการเรียนการสอนครั้งต่อ ๆ ไป

ประเมินเพื่อน ทุกคนมีความตั้งใจ มุ่งมั่น ในการเรียนการสอนของอาจารย์อย่างเต็มที่ ทุกครั้งที่มีคำถามจากอาจารย์เพื่อน ๆ ต่างมีองค์ความรู้เดิมสามารถที่จะตอบคำถามของอาจารย์ได้ทุกเมื่อ บ้างครั้งอาจจะมีผิดพลาดไปบ้างแต่ทุกคนก็ร่วมแสดงความคิดเห็นอย่างเต็มที่  

ประเมินอาจารย์ อาจารย์เป็นคนรอบคอบ ไม่ตึงเครียดระหว่างการสอน มีความเตรียมพร้อมในการเรียนการสอนมาอย่างดีรวมถึงแนวการสอนที่เน้นให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นและพลักดันให้นักศึกษากล้าแสดงออกผ่านการตั้งคำถามของตนเองเมื่อมีความสงสัย




วันศุกร์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2559

สรุป วิจัยเกี่ยวกับคณิตศาสตร์

เรื่อง ผลการจัดประสบการณ์โดยใช้เกมเชิงคณิตศาสตร์ที่มีต่อความสามารถพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย   (สุมาพร เฉลิมผจง* บัญญัติ ชานาญกิจ**)



       การเปรียบเทียบจำนวนของเด็กปฐมวัยที่มีคะแนนความสามารถพื้นฐานทางคณิตศาสตร์หลังได้รับการจัดประสบการณ์โดยใช้เกมเชิงคณิตศาสตร์ผ่านเกณฑ์เพื่อเปรียบเทียบความสามารถพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ก่อนเรียนและหลังเรียนที่ได้รับการสอนโดยการจัดประสบการณ์เกมการศึกษา
 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย
นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1 โรงเรียนบ้านไร่ดอนแตง ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 จำนวน 30 คน
ระยะเวลาในการทดสอบ สัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 30 นาที รวม 4 สัปดาห์  
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
1) แผนการจัดประสบการณ์โดยใช้เกมเชิงคณิตศาสตร์ เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์โดยใช้เกมเชิงคณิตศาสตร์ ร้อยละ 74มีความสามารถพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็มซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
2) แบบทดสอบความสามารถพื้นฐานทางคณิตศาสตร์เป็นแบบปรนัย  เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์โดยใช้เกมเชิงคณิตศาสตร์มีความสามารถพื้นฐานทางคณิตศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
 แผนการจัดประสบการณ์โดยใช้เกมเชิงคณิตศาสตร์ เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์โดยใช้เกมเชิงคณิตศาสตร์ จานวนร้อยละ 74 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ของคะแนนเต็ม
แบบทดสอบความสามารถพื้นฐานทางคณิตศาสตร์เป็นแบบปรนัย ปฐมวัยที่ได้รับการสอนโดยการจัดประสบการณ์โดยใช้เกมเชิง คณิตศาสตร์มีความสามารถพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สูงกว่าก่อนจัดประสบการณ์เกมการศึกษาโดยใช้เกม เชิงคณิตศาสตร์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

สรุปผล
การเปรียบเทียบความสามารถพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ก่อนเรียนและหลังเรียนโดยการจัดประสบการณ์เกมเชิงคณิตศาสตร์ในการเรียนการสอนซึ่งเป็นกิจกรรมทีน่าสนใจ ซึ่งมีสื่อประกอบการเล่น ทำให้เด็กเกิดความสนุกสนานอีกทั้งบูรณาการเข้ากับธรรมชาติการเล่นของเด็ก เด็กได้รู้จักการเปรียบเทียบ ความหนา-บาง การจัดเรียงลำดับ ความสามารถทางคณิตศาสตร์เหล่านี้ จะเป็นพื้นฐานในการเรียนรู้ในลำดับต่อไปโดยเฉพาะทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ซึ่งเป็นองค์ประกอบและรากฐานสำคัญของการพัฒนาทางด้านสติปัญญา กิจกรรมการเล่นที่ช่วยฝึกความสามารถด้านการสังเกต การคิดหาเหตุผล และการแก้ปัญหาโดยใช้เวลาสั้นที่สุด จากการจัดประสบการณ์การเรียนการสอนโดยใช้เกมเชิงคณิตศาสตร์มาจัดกิจกรรมจึงสามารถพัฒนาพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยได้ยิ่งขึ้น



*นักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการหลักสูตรและการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, 2556

**ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ประจาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์



สรุป บทความเกี่ยวกับคณิตศาสตร์

เรื่อง: เสริมการเรียนเลขให้ลูกวัยอนุบาล
ผศ.ดร.ชลาธิป สมาหิโต ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการศึกษาปฐมวัย คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 

กระบวนการคิดและคณิตวัยอนุบาล
การเรียนคณิตศาสตร์ของวัยอนุบาลคือ คุณพ่อคุณแม่ต้องทำความเข้าใจในพัฒนาการของช่วงวัยไม่ควรคาดหวังสูงเพราะคณิตศาสตร์คือทักษะที่ต้องทำซ้ำ ทำบ่อย หมั่นทบทวนอยู่ตลอดเวลาจึงเป็นไปได้อยากที่ครั้งแรกจะถูกเสมอไป ไม่โมโห ดุด่าเพราะสาเหตุที่ทำไม่ได้ดังใจฉะนั้นการจะให้ลูกตอบได้ในครั้งเดียวนั้นถือเป็นการคาดหวังที่สูงมาก การพัฒนาเรื่องกระบวนการคิดของเด็ก จึงเป็นแนวทางในการช่วยส่งเสริมการเรียนคณิตศาสตร์ของลูกได้เป็นอย่างดีและแนวทางที่สำคัญอีกทางคือ ครอบครัว การพัฒนาเรื่องกระบวนการคิดของเด็ก จะเป็นการช่วยส่งเสริมการเรียนคณิตศาสตร์ของลูกได้เป็นอย่างดี 3 รูปแบบดังนี้

1.เข้าใจด้วยระบบสัญลักษณ์ เด็กวัยนี้จะนับเลข 1- 5 ได้ แต่ไม่รู้ถึงจำนวนค่าเท่าไรเด็กจะยังไม่เข้าใจ ซึ่งเรื่องนี้เป็นสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ต้องช่วยกันสร้างความเข้าใจแก่เขา โดยการใช้ระบบสัญลักษณ์ (ภาพหรือสิ่งของที่จับต้องได้) แทนตัวเลข เพราะเด็กจะเข้าใจง่ายกว่า
  2. เด็กวัยอนุบาลจะทำกิจกรรมโดยใช้ประสาทสัมผัสตากับมือเป็นหลัก การนับสิ่งของที่มี 2 แถว แถวหนึ่งวางห่างกัน แถวสองวางชิดกัน เขาจะบอกว่าแถวที่วางห่างกันมีจำนวนมากกว่า เพราะยาวกว่า คุณพ่อคุณแม่จึงต้องคอยอธิบายให้ลูกฟังอย่างใจเย็นที่สุด
   3. ทักษะทางภาษายังต้องสั่งสม  ทักษะทางภาษาเป็นสิ่งสำคัญมากในการเรียนคณิตศาสตร์ ซึ่งสำหรับเด็กวัยอนุบาลยังต้องได้รับการกระตุ้นเรื่องการสื่อสาร เพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาที่ดีขึ้น อันจะส่งผลให้เขาสามารถตั้งคำถามและอธิบายเกี่ยวกับเรื่องที่เรียนได้ เช่น มีของอยู่ 3 ชิ้น คุณแม่ให้เพิ่มอีก 2 ชิ้น หากเขามีทักษะทางภาษาที่ดีเขาจะต้องเข้าใจคำว่า “เพิ่ม” คืออะไร และจะนำมาซึ่งกระบวนการคิดและตอบคำถามอย่างถูกต้อง






สรุป วิดีโอเกี่ยวคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

เรื่อง การเรียนการสอนแบบมอนเทสรี่ (ครูเด่นดวง  ธรรมทวี)     การสอนมุ่งเน้นให้เด็กได้เรียนรู้ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 ลงมือและสัมผัสจากประสบการณ์จริง


การเรียนรู้โดยการดู
   ซึ่งจะนำไปสู่การเตรียมความพร้อมในการเรียนรู้กับวิชาคณิตศาสตร์ในระดับต่อ ๆ ไป โดยจะให้เด็กได้เรียนรู้ลักษณะรูปทรง ความหนาบาง ของวัตถุหรือสิ่งที่เห็นจากอุปกรณ์ที่คุณครูเตรียมมา
การเรียนรู้โดยการฟัง
   คุณครูเขย่าเสียงจากกระบองเสียงและให้เด็กได้แยกเสียงจากทุ้มเสียงที่เด็กได้ยิน
การเรียนรู้โดยการสัมผัส
คุณครูให้เด็กสัมผัสและจับและค่อยถามว่ารู้สึกยังไงจากการที่เด็กได้สัมผัสเด็กได้รับรู้ความลื่น ความหยาบของผ้า จากการสัมผัสที่รู้สึกได้ด้วยตนเอง
การเรียนรู้โดยการดมกลิ่น
คุณครูให้เด็กสูดดมกลิ่นต่าง ๆ จากที่ครูเตรียมมา โดยมี 4 กลิ่น หลังจากที่เด็กบอกได้ว่ากลิ่นอะไรคุณครูจึงให้เด็กจับคู่กลิ่นที่ตนเองได้กับเพื่อนที่อยู่ข้าง ๆ
 การเรียนรู้โดยการลิ้น
คุณครูให้เด็ก ๆ ชิมรสและเปรียบเทียบรสชาติกับอาหารที่เด็กคุ้นเคย

สรุปผล

     การเรียนรู้จากประสาทสัมผัสทั้ง 5 เพื่อให้เด็กก้าวไปสู่การพัฒนาการต่าง ๆ ที่เด็กควรจะได้รับทั้งความพร้อมที่เด็กมี เด็กสามารถที่จะบอกสิ่งที่เป็นนามปธรรมและรูปธรรม จะเห็นได้ว่าเด็กสามารถเรียนรู้และสนุกสนานกับความรู้ที่ได้รับจากการลงมือปฏิบัติจริง สิ่งที่เห็นได้ชัดจากวิดีโอ คือ เมื่อมีความรู้ความเข้าใจจากการที่ลงมือปฏบัติจริงเด็กจะสามารถกล่าวหรือกระทำในคำถามที่ถูกต้องได้และเป็นการสร้างความรู้พื้นฐานในการเรียนวิชาต่าง ๆ อาทิเช่น เรียนรู้เกี่ยวกับคณิตศาสตร์  เรียนรู้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ เรียนรู้เกี่ยวกับภาษา เป็นต้น


วิดีโอที่กล่าวถึง


บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 2

วันพุธ ที่ 6 มกราคม 2559 กลุ่มเรียน101 ห้อง 233 เวลา 08.30-11.30 น.



บรรยากาศภายในห้องเรียน    ในสัปดาห์นี้บรรยากาศภายในห้องเรียนดูคลื่นเครงและสนุกสนานเป็นอย่างมาก มีเสียงหัวเราะของนักศึกษาและอาจารย์ระหว่างที่เนื้อหา อาจารย์จะสอดแทรกมุกตลกขำขันไปตลอดทำให้ไม่ตึงเคลียดและผ่อนคลายในการฟังคำบรรยายที่มีเนื้อหาด้วยความสนุก

ความรู้ที่ได้รับ
            นิยามของคณิตศาสตร์ คือ การคิดคำนวณในชีวิตประจำวันที่มีองค์ประกอบต่าง ๆ อาทิเช่นสัดส่วนของอาหาร,รายรับ-รายจ่ายในชีวิตประจำวัน,บวก ลบ คูณ หาร และการบริหารเวลาในการเดินทาง  คณิตศาสตร์คือเครื่องมือสำหรับการเรียนรู้ คือ การเรียนการสอนที่มีคณิตศาสตร์ไปเชื่อมโยงรวมทั้งการดำรงชีวิตในแต่ละวัน หุ้น/ภาษีของผู้มีรายได้ ภาษีรถยนต์ต่อปี การต่อใบพรบ
คณิตศาสตร์อยู่ในชีวิตประจำวันมีความสำคัญในส่วนของตัวเราและประเทศอย่างมากทั้งระบบเศรษฐกิจ การวางแผน การจัดการในระบบสาธารณูปโภค และพลังงานที่ใช้ภายในประเทศ ล้วนเกิดจากการคิดคำนวณ การจัดแจก การเฉลี่ยให้เท่ากับการใช้และจำนวนของประชากรภายในประเทศ
แผนผังความคิดจากการช่วยกันเสนอความคิดเห็นระหว่างอาจารย์และนักศึกษา



ทักษะที่ได้รับ
  • ทักษะการแจกกระดาษ
  • ทักษะการคิดแก้ไขปัญหา
  • ทักษะการอยู่ร่วมกัน
  • ทักษะการคิดแบบเป็นเหตุเป็นผล
  • ทักษะการคิดวิเคราะห์
  • ทักษะการเป็นผู้ฟังที่ดี
  • ทักษะการคิดคำนวณ
  • ทักษะการช่วยเหลือตนเอง

การนำความรู้มาประยุกต์ใช้
          สามารถนำความรู้คณิตศาสตร์ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันคือ การแจกเอกสารหรือแผ่นกระดาษเทคนิคการแจกกระดาษในสัปดาห์นี้คือ การแจก แบบ1ต่อ1 ประยุกต์ใช้โดยการแจกกกระดาษในรายวิชาอื่น ๆ ที่อาจารย์ได้มอบหมายโดยมีใบงาน และสามารถนำมาประยุกต์การคำนวณเวลาการเดินทางระหว่างบ้านและสถานศึกษาและการแบ่งค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน รวมถึงการนำไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน เช่น การนำคณิตศาสตร์เบื้องต้นสอนให้เด็กเข้าใจจากวิธีการง่าย ๆ และรู้จักกับคณิตศาสตร์ที่อยู่ใกล้ตัว

เทคนิคการสอนของอาจารย์
  • พูดคุยกับนักศึกษาอย่างผ่อนคลายด้วยการหยิบมุกเล่น ๆ น้อย ๆ มาพูดระหว่างอธิบายองค์ความรู้
  • ฝึกให้นักศึกษามีการคิดแก้ไขปัญหา 
  • ปลูกฝังให้มีคุณธรรมจริยธรรมโดยการสอดแทรกจากเรื่องราวในชีวิตประจำวัน
  • มุ่งเน้นให้นักศึกษากล้าที่จะพูดอย่างมีเหตุมีผล
  • ไม่มีผิดถูกในการแสดงความคิดเห็นอาจารย์เปิดโอกาศให้นักศึกษาเป็นอย่างมาก

การประเมินผล
ประเมินตนเอง มีความเข้าใจถึงเนื้อหา 75 %และพร้อมกับการพัฒนาในการเรียนการสอนครั้งต่อ ๆ ไป
ประเมินเพื่อน ทุกคนมีความตั้งใจ มุ่งมั่น ในการเรียนการสอนของอาจารย์อย่างเต็มที่ถึงแม้จะเช้าแต่ทุกคนก็ควบคุมสติตนเองให้พร้อมกับการเรียนทุกเมื่อ ทุกครั้งที่มีคำถามจากอาจารย์เพื่อน ๆ ต่างมีองค์ความรู้เดิมสามารถที่จะตอบคำถามของอาจารย์ได้ทุกเมื่อ มีความเข้าใจถึงเนื้อหาและพร้อมกับการพัฒนาในขั้นต่อ ๆ ไป
ประเมินอาจารย์ อาจารย์มีความเตรียมในการเรียนการสอนมาอย่างดีรวมถึงแนวการสอนที่เน้นให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นและพลักดันให้นักศึกษากล้าแสดงออกผ่านการตั้งคำถามของตนเองเมื่อมีความ
สงสัย

((อะไรที่ขาดแล้วรู้สึกอยู่ไม่ได้แสดงว่าสิ่งนั้นสำคัญ คณิตศาสตร์ก็เช่นกัน)) cr.อาจารย์จินตนา


วันพฤหัสบดีที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 1

วันพุธ ที่ 6 มกราคม 2559 กลุ่มเรียน101 ห้อง 233 เวลา 08.30-11.30 น.


ความรู้ที่ได้รับ
• ฝึกการจัดเตรียมเวลาในการเข้าเรียน การแต่งกาย มารยาทในห้องเรียน
• เรียนรู้แนวทางระเบียบการจัดทำบล็อก การตกแต่ง และองค์ประกอบที่สำคัญของบล็อกที่ขาดไม่ได้

ทักษะที่ได้รับ
•ทักษะทางด้านความรู้ที่ดีต่อรายวิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
•ทักษะการใช้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์
•ทักษะการแก้ไขปัญหา

บรรยากาศภายในห้องเรียน
 •เป็นคาบเรียนวิชาแรกในการเจอกันระหว่างนักศึกษาและอาจารย์ผู้สอนทุกคนสามารถตอบคำถามจากอาจารย์ได้บ้าง เป็นการทดสอบความรู้พื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับรายวิชาที่จะต้องเ รียนในตลอดทั้งเทอมการศึกษาที่ 2


การนำความรู้ไปใช้
• สามารถนำการแนะนำรูปแบบการทำบล็อกไปใช้ให้เกิดประโยชน์แทนการใช้กระดาษ
• เกิดความรู้ความเข้าใจที่ดีต่อรายวิชาในการเรียนมากขึ้นพร้อมกับพัฒนาตนเพื่อให้มีเจตคติที่ดีรายวิชา

การประเมินผล
ประเมินตนเอง การเรียนการสอนในวันนี้ทำให้เข้าใจถึงความสำคัญที่มีต่อวิชาคณิตศาสตร์ซึ่งเกี่ยวเนื่องกับเราในชีวิตประจำวันจึงก่อให้เกิดรายวิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

ประเมินเพื่อน ทุกคนมีความตั้งใจ มุ่งมั่น ในการเรียนการสอนของอาจารย์อย่างเต็มที่ถึงแม้จะเช้าแต่ทุกคนก็ควบคุมสติตนเองให้พร้อมกับการเรียนทุกเมื่อ

ประเมินอาจารย์ อาจารย์มีความเตรียมในการเรียนการสอนมาอย่างดีรวมถึงแนวการสอนที่เน้นให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นและพลักดันให้นักศึกษากล้าแสดงออกผ่านการตั้งคำถามของตนเองเมื่อมีความสงสัย