วันศุกร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 7

วันพุธ ที่ 17 กุมภาพันธ์ 2559 กลุ่มเรียน101 ห้อง 233 เวลา 08.30-11.30 น.
                                                                                                 
 บรรยากาศภายในห้องเรียน

       สัปดาหน์นี้ทุกคนมาถึงห้องตรงเวลาและนั่งเป็นระเบียบเรียบร้อย แต่สัปดาห์นี้อาจารย์มีกิจกรรมที่ต้องทำและแจ้งให้นักศึกษารู้ก่อนเวลาเรียนกิจกรรมที่สำคัญคือ กิจกรรมเปิดงานวิชา จึงทำให้ล่วงเลยเวลาเรียนเล็กน้อย ไม่นานนักอาจารย์ก็มาและทำการเรียนการสอนอย่างเป็นกันเองทำให้บรรยากาศภายในห้องดูอบอุ่น และดำเนินไปตามการจัดการเรียนการสอนของอาจารย์             
  
ความรู้ที่ได้รับ

1.กิจกรรมก่อนเข้าสู่บทเรียน
กิจกรรมต่อรูปทรงสามเหลี่ยม / สี่เหลี่ยม จากไม้ลูกชิ้น
โดยอาจารย์แจกให้ในสัปดาห์ก่อนเพื่อนำมาจัดกิจกรรมก่อนเข้าสู่บทเรียน คือ การทำรูปทรงสามเหลี่ยมและรูปทรงสี่เหลี่ยมอาจารย์แจกไม้แหลม เหมือนกับไม้ลูกชิ้นมา 12 ไม้ โดยให้นักศึกษาตัดแบ่งเป็น 3 ส่วน ขนาดเล็ก 6 ไม้  ขนาดกลาง 6 ไม้ และขนาดยาว 6 ไม้ 

ภาพนี้เป็นการทำรูปสามเหลี่ยมจากไม้ขนาดกลางให้เป็นรูปทรงสามเหลี่ยมจากไม้ที่ขนาดยาว
จึงออกมาเป็นรูปทรงสามเหลี่ยมแบบ 2 มิติ ดังภาพ

 กระบวนการออกแบบการทำกิจกรรมต่อรูปทรงสามเหลี่ยม / สี่เหลี่ยม จากไม้ลูกชิ้น 
การทำรูปทรงสามเหลี่ยมจากไม้ลูกชิ้น
ขั้นการคิด คือ การใช้ประสาทสัมผัสตาในการคิดวิเคราะห์ถึงรูปร่างจากโจทย์โดยอาจารย์เป็นผู้กำหนดให้เป็นรูปทรง
ขั้นการออกแบบ คือ นำรูปลักษณะของไม้ที่มีความแตกต่างกันมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อองค์ความรู้ในการคิดออกแบบของตนเองให้ได้มากที่สุดอาจจะใช้การลองผิดลองถูกเพื่อให้ได้ซึ่งคำตอบที่ตนเองพอใจ การเลือกขนาดของไม้จึงจำเป็นในขั้นแรกเพื่อต่อยอดเป็นรูปทรงที่มีมิติมากยิ่งขึ้น
ขั้นการลงมือปฏิบัติ คือ การนำเอาโจทย์ภาพที่เราคิดไว้ในจินตนาการบวกกับขนาดของไม้ที่เรากำหนดนำมาประกอบเป็นรูปร่างที่อาจารย์ได้กำหนดคือ รูปสามเหลี่ยมเพิ่มความเป็นมิติเป็นรูปทรงสามเหลี่ยมโดยใช้ดินน้ำมันยึดไม้ไว้ประกอบเข้าไว้ด้วยกันจนกลายเป็น "รูปทรงสามเหลี่ยม"



ภาพนี้เป็นการทำรูปสี่เหลี่ยมจากไม้ขนาดกลางเป็นฐานให้เป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมแบบใดก็ได้
จึงกำหนดใช้ไม้ที่ขนาดยาวของเพื่อนเพื่อรวมเป็นรูปทรงเดียวกันจึงออกมาเป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมแบบ 2 มิติ ดังภาพ

 กระบวนการออกแบบการทำกิจกรรมต่อรูปทรงสามเหลี่ยม / สี่เหลี่ยม จากไม้ลูกชิ้น 
การทำรูปทรงสี่เหลี่ยมจากไม้ลูกชิ้น
ขั้นการคิด คือ การใช้ประสาทสัมผัสตาในการคิดวิเคราะห์ถึงรูปร่างจากโจทย์โดยอาจารย์เป็นผู้กำหนดให้เป็นรูปทรง
ขั้นการออกแบบ คือ นำรูปลักษณะของไม้ที่มีความแตกต่างกันมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อองค์ความรู้ในการคิดออกแบบของตนเองให้ได้มากที่สุดอาจจะใช้การลองผิดลองถูกเพื่อให้ได้ซึ่งคำตอบที่ตนเองพอใจ การเลือกขนาดของไม้จึงจำเป็นในขั้นแรกเพื่อต่อยอดเป็นรูปทรงที่มีมิติมากยิ่งขึ้น
ขั้นการลงมือปฏิบัติ คือ การนำเอาโจทย์ภาพที่เราคิดไว้ในจินตนาการบวกกับขนาดของไม้ที่เรากำหนดนำมาประกอบเป็นรูปร่างที่อาจารย์ได้กำหนดคือ รูปสามเหลี่ยมเพิ่มความเป็นมิติเป็นรูปทรงสามเหลี่ยมโดยใช้ดินน้ำมันยึดไม้ไว้ประกอบเข้าไว้ด้วยกันจนกลายเป็น "รูปทรงสี่เหลี่ยม" 
การประกอบรูปทรงสีเหลี่ยมเพิ่มระดับความยากขึ้นขั้นตนอนการคิดและการออกแบบรวมถึงการลงมือปฏิบัติมีลักษณะที่คล้ายคลึงกันแต่เนื่องด้วยเป็นรูปสี่เหลี่ยมและทำต่อให้เป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมแล้วนำไปประกอบชิ้นส่วนกับของเพื่อนให้มีความแปลกใหม่จึงเกิดเป้นการคิดที่มีความสับซ้อนกันหลายเท่าตัวเมื่อเปรียบเทียบรูปทรงสามเหลี่ยมรวมถึงการทำข้อตกลงในการออกแบบให้มีความสอดคล้องความคิดทั้ง 2 ฝ่าย ใน 1 ชิ้นงานที่ช่วยกันทำ



2.การนำเสนอของเพื่อน ๆ
สรุปบทความคณิตศาสตร์ปฐมวัยเรียนอย่างไรให้สนุก + เข้าใจ โดยนางสาวพรประเสริฐ  กลับผดุง
บทความนี้ได้กล่าวถึงแนวการสอนของคุณครูท่านหนึ่งที่สอนอยู่ที่โรงเรียนพระยาประเสริฐสุนทราศรัย คุณครูท่านนี้เป็นผู้มีประสบการณ์สอนคณิตศาสตร์มายาวนานกว่า 35 ปี และยังได้รับรางวัล มามากมายกว่า 20 รางวัล ครูท่านนี้คือ คุณครูเสน่ห์ สังข์ภิรมย์  
แนวการสอนของคุณครูท่านนี้ จะใช้วิธีการแบบเพื่อนช่วยเพื่อน โยจับกลุ่มเด็กเก่งกับเด็กเรียนอ่อนให้คละกัน ให้เด็กๆได้ช่วยเหลือกัน เพื่อจะได้ส่งเสริมทักษะการเข้าสังคมให้เด็กด้วย ในการสอนครูจะไม่ทำโทษเด็ก ไม่กากบาทในสิ่งที่เด็กทำผิดแต่จะอธิบายและให้เด็กได้แก้ไขตรงนั้นเลย ครูเป็นส่วนหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญในการทำให้การเรียนคณิตศาสตร์นั้นเป็นเรื่องสนุกสำหรับเด็ก โดยครูจะต้อง 
1. ครูต้องพัฒนาตนเองอยู่เสมอ
2. ครูต้องศึกษาหาความรู้ใหม่ๆ กิจกรรมต่างๆที่ทำให้เด็กสนุกสนานกับการเรียน
3. ใช้สื่อที่หน้าสนใจ 
การเรียนด้วยความสนุกนั้นจะทำให้เด็กมีเจตคติที่ดีและมีกำลังใจในการเรียนรู้
การที่จะทำให้เด็กปฐมวัยนั้นสนุกและเข้าใจในคณิตศาสตร์ได้นั้น คุณครูหรือผู้ใหญ่ทั้งหลายจะต้องสร้างองค์ประกอบการเรียนรู้รอบด้านให้เป็นเรื่องสนุก ก็จะทำให้การเรียนที่น่าเบื่อกลายเป็นเรื่องสนุกได้นั้นเอง



สรุปงานวิจัยเรื่อง การส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยการจัดประสบการณ์ โดยนางสาวณัฐนิชา  ศรีบุตรตา  
กิจกรรมดนตรี  ตามแนวออร์ฟ-ชูคเวิร์คผู้จัดทำ  วรินธร  สิริเดชะ (2550)  เสนอต่อบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒผู้ควบคุม  ผู้ช่วยศาตราจารย์ จิราภรณ์ บุญส่ง , อาจารย์ ดร. สุจินดา ขจรรุ่งศิลป์
กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการทดลองเป็นเด็กปฐมวัยชาย-หญิง อายุ 4-5 ปี จำนวน 30 คน ที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาล 2 ปีการศึกษา 2549 ภาคเรียนที่ 2 โรงเรียนศรีดรุณ จังหวัดสมุทรปราการ  โดยใช้ระยะเวลาทดลอง เป็นเวลา 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 40 นาที
เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง 
1 แผนการจัดประสบการณ์ดนตรีตามแนวออร์ฟชูคเวิร์คและแบบทดสอบวัดทักษะพื้นฐานทางด้านคณิตศาสตร์
2 คู่มือการจัดประสบการณ์ตามแนวดนตรีตามแนวออร์ฟชูคเวิร์ค
ผลการวิจัยพบว่า เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์ตามแนวดนตรีตามแนวออร์ฟชูคเวิร์คมีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ได้แก่ การจัดหมวดหมู่  การรู้ค่าจำนวณ การเปรียบเทียบ อนุกรม เป็นต้น
กดลิงค์ดูต้นฉบับเพิ่มเติมค่ะ

**หมายเหตุ วันศุกร์ ที่ 26 กุมภาพันธ์ 2559 นัดสอบนอกตาราง เวลา 08.30 น.





ทักษะที่ได้รับ 
  • ทักษะการคิดที่แปลกใหม่
  • ทักษะการคิดออกแบบ
  • ทักษะการคิดดัดแปลง

การนำความรู้มาประยุกต์ใช้
  •  สามารถนำรูปทรงที่เป็นสามเหลี่ยม / สีเหลี่ยม มาบูรณาการเข้ากับการเรียนรู้ของเด็กโดยการใหเด็กได้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเองด้วยวิธีที่ไม่สับซ้อน

เทคนิคการสอนของอาจารย์
  •  อาจารย์มีคำถามเพื่อให้นักศึกษาสามารถคิดและตอบคำถามฝึกให้นักศึกษาเรียนรู้ที่หลากหลายผ่านกิจกรรมก่อนเข้าสู่บทเรียนสอดแทรกองค์ความรู้ที่นำไปสู่การบูรณากาในการสอนให้กับเด็กจากการจัดกิจกรรมเปะกระดาษทับรูปทรง
ประเมินผล

ประเมินตนเอง มีความตั้งใจในการเรียนการสอน รับฟังการตั้งคำถามของอาจารย์รวมทั้งเมื่ออาจารย์ยกตัวอย่าง บางครั้งก็สามารถตอบได้แต่บางครั้งก็ตอบคำถามไม่ได้เป็นไปคำสั่งของสมอง

ประเมินเพื่อน เพื่อนตั้งใจเรียนและมีสมาธิในการเรียนการสอนของอาจารย์และให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมหรือตอบคำถามอยู่เสมอ

ประเมินอาจารย์ อาจารย์มีกิจกรรมที่ส่งเสริมก่อนการเข้าสู่บทเรียนดด้วยการทำกิจกรรมที่แปลกใหม่อยู่เสมอเพื่อให้นักศึกษาได้มีสมาธิและดำเนินการเรียนการสอนเป็นไปอย่างลำดับขั้นตอน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น