วันศุกร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 7

วันพุธ ที่ 17 กุมภาพันธ์ 2559 กลุ่มเรียน101 ห้อง 233 เวลา 08.30-11.30 น.
                                                                                                 
 บรรยากาศภายในห้องเรียน

       สัปดาหน์นี้ทุกคนมาถึงห้องตรงเวลาและนั่งเป็นระเบียบเรียบร้อย แต่สัปดาห์นี้อาจารย์มีกิจกรรมที่ต้องทำและแจ้งให้นักศึกษารู้ก่อนเวลาเรียนกิจกรรมที่สำคัญคือ กิจกรรมเปิดงานวิชา จึงทำให้ล่วงเลยเวลาเรียนเล็กน้อย ไม่นานนักอาจารย์ก็มาและทำการเรียนการสอนอย่างเป็นกันเองทำให้บรรยากาศภายในห้องดูอบอุ่น และดำเนินไปตามการจัดการเรียนการสอนของอาจารย์             
  
ความรู้ที่ได้รับ

1.กิจกรรมก่อนเข้าสู่บทเรียน
กิจกรรมต่อรูปทรงสามเหลี่ยม / สี่เหลี่ยม จากไม้ลูกชิ้น
โดยอาจารย์แจกให้ในสัปดาห์ก่อนเพื่อนำมาจัดกิจกรรมก่อนเข้าสู่บทเรียน คือ การทำรูปทรงสามเหลี่ยมและรูปทรงสี่เหลี่ยมอาจารย์แจกไม้แหลม เหมือนกับไม้ลูกชิ้นมา 12 ไม้ โดยให้นักศึกษาตัดแบ่งเป็น 3 ส่วน ขนาดเล็ก 6 ไม้  ขนาดกลาง 6 ไม้ และขนาดยาว 6 ไม้ 

ภาพนี้เป็นการทำรูปสามเหลี่ยมจากไม้ขนาดกลางให้เป็นรูปทรงสามเหลี่ยมจากไม้ที่ขนาดยาว
จึงออกมาเป็นรูปทรงสามเหลี่ยมแบบ 2 มิติ ดังภาพ

 กระบวนการออกแบบการทำกิจกรรมต่อรูปทรงสามเหลี่ยม / สี่เหลี่ยม จากไม้ลูกชิ้น 
การทำรูปทรงสามเหลี่ยมจากไม้ลูกชิ้น
ขั้นการคิด คือ การใช้ประสาทสัมผัสตาในการคิดวิเคราะห์ถึงรูปร่างจากโจทย์โดยอาจารย์เป็นผู้กำหนดให้เป็นรูปทรง
ขั้นการออกแบบ คือ นำรูปลักษณะของไม้ที่มีความแตกต่างกันมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อองค์ความรู้ในการคิดออกแบบของตนเองให้ได้มากที่สุดอาจจะใช้การลองผิดลองถูกเพื่อให้ได้ซึ่งคำตอบที่ตนเองพอใจ การเลือกขนาดของไม้จึงจำเป็นในขั้นแรกเพื่อต่อยอดเป็นรูปทรงที่มีมิติมากยิ่งขึ้น
ขั้นการลงมือปฏิบัติ คือ การนำเอาโจทย์ภาพที่เราคิดไว้ในจินตนาการบวกกับขนาดของไม้ที่เรากำหนดนำมาประกอบเป็นรูปร่างที่อาจารย์ได้กำหนดคือ รูปสามเหลี่ยมเพิ่มความเป็นมิติเป็นรูปทรงสามเหลี่ยมโดยใช้ดินน้ำมันยึดไม้ไว้ประกอบเข้าไว้ด้วยกันจนกลายเป็น "รูปทรงสามเหลี่ยม"



ภาพนี้เป็นการทำรูปสี่เหลี่ยมจากไม้ขนาดกลางเป็นฐานให้เป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมแบบใดก็ได้
จึงกำหนดใช้ไม้ที่ขนาดยาวของเพื่อนเพื่อรวมเป็นรูปทรงเดียวกันจึงออกมาเป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมแบบ 2 มิติ ดังภาพ

 กระบวนการออกแบบการทำกิจกรรมต่อรูปทรงสามเหลี่ยม / สี่เหลี่ยม จากไม้ลูกชิ้น 
การทำรูปทรงสี่เหลี่ยมจากไม้ลูกชิ้น
ขั้นการคิด คือ การใช้ประสาทสัมผัสตาในการคิดวิเคราะห์ถึงรูปร่างจากโจทย์โดยอาจารย์เป็นผู้กำหนดให้เป็นรูปทรง
ขั้นการออกแบบ คือ นำรูปลักษณะของไม้ที่มีความแตกต่างกันมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อองค์ความรู้ในการคิดออกแบบของตนเองให้ได้มากที่สุดอาจจะใช้การลองผิดลองถูกเพื่อให้ได้ซึ่งคำตอบที่ตนเองพอใจ การเลือกขนาดของไม้จึงจำเป็นในขั้นแรกเพื่อต่อยอดเป็นรูปทรงที่มีมิติมากยิ่งขึ้น
ขั้นการลงมือปฏิบัติ คือ การนำเอาโจทย์ภาพที่เราคิดไว้ในจินตนาการบวกกับขนาดของไม้ที่เรากำหนดนำมาประกอบเป็นรูปร่างที่อาจารย์ได้กำหนดคือ รูปสามเหลี่ยมเพิ่มความเป็นมิติเป็นรูปทรงสามเหลี่ยมโดยใช้ดินน้ำมันยึดไม้ไว้ประกอบเข้าไว้ด้วยกันจนกลายเป็น "รูปทรงสี่เหลี่ยม" 
การประกอบรูปทรงสีเหลี่ยมเพิ่มระดับความยากขึ้นขั้นตนอนการคิดและการออกแบบรวมถึงการลงมือปฏิบัติมีลักษณะที่คล้ายคลึงกันแต่เนื่องด้วยเป็นรูปสี่เหลี่ยมและทำต่อให้เป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมแล้วนำไปประกอบชิ้นส่วนกับของเพื่อนให้มีความแปลกใหม่จึงเกิดเป้นการคิดที่มีความสับซ้อนกันหลายเท่าตัวเมื่อเปรียบเทียบรูปทรงสามเหลี่ยมรวมถึงการทำข้อตกลงในการออกแบบให้มีความสอดคล้องความคิดทั้ง 2 ฝ่าย ใน 1 ชิ้นงานที่ช่วยกันทำ



2.การนำเสนอของเพื่อน ๆ
สรุปบทความคณิตศาสตร์ปฐมวัยเรียนอย่างไรให้สนุก + เข้าใจ โดยนางสาวพรประเสริฐ  กลับผดุง
บทความนี้ได้กล่าวถึงแนวการสอนของคุณครูท่านหนึ่งที่สอนอยู่ที่โรงเรียนพระยาประเสริฐสุนทราศรัย คุณครูท่านนี้เป็นผู้มีประสบการณ์สอนคณิตศาสตร์มายาวนานกว่า 35 ปี และยังได้รับรางวัล มามากมายกว่า 20 รางวัล ครูท่านนี้คือ คุณครูเสน่ห์ สังข์ภิรมย์  
แนวการสอนของคุณครูท่านนี้ จะใช้วิธีการแบบเพื่อนช่วยเพื่อน โยจับกลุ่มเด็กเก่งกับเด็กเรียนอ่อนให้คละกัน ให้เด็กๆได้ช่วยเหลือกัน เพื่อจะได้ส่งเสริมทักษะการเข้าสังคมให้เด็กด้วย ในการสอนครูจะไม่ทำโทษเด็ก ไม่กากบาทในสิ่งที่เด็กทำผิดแต่จะอธิบายและให้เด็กได้แก้ไขตรงนั้นเลย ครูเป็นส่วนหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญในการทำให้การเรียนคณิตศาสตร์นั้นเป็นเรื่องสนุกสำหรับเด็ก โดยครูจะต้อง 
1. ครูต้องพัฒนาตนเองอยู่เสมอ
2. ครูต้องศึกษาหาความรู้ใหม่ๆ กิจกรรมต่างๆที่ทำให้เด็กสนุกสนานกับการเรียน
3. ใช้สื่อที่หน้าสนใจ 
การเรียนด้วยความสนุกนั้นจะทำให้เด็กมีเจตคติที่ดีและมีกำลังใจในการเรียนรู้
การที่จะทำให้เด็กปฐมวัยนั้นสนุกและเข้าใจในคณิตศาสตร์ได้นั้น คุณครูหรือผู้ใหญ่ทั้งหลายจะต้องสร้างองค์ประกอบการเรียนรู้รอบด้านให้เป็นเรื่องสนุก ก็จะทำให้การเรียนที่น่าเบื่อกลายเป็นเรื่องสนุกได้นั้นเอง



สรุปงานวิจัยเรื่อง การส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยการจัดประสบการณ์ โดยนางสาวณัฐนิชา  ศรีบุตรตา  
กิจกรรมดนตรี  ตามแนวออร์ฟ-ชูคเวิร์คผู้จัดทำ  วรินธร  สิริเดชะ (2550)  เสนอต่อบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒผู้ควบคุม  ผู้ช่วยศาตราจารย์ จิราภรณ์ บุญส่ง , อาจารย์ ดร. สุจินดา ขจรรุ่งศิลป์
กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการทดลองเป็นเด็กปฐมวัยชาย-หญิง อายุ 4-5 ปี จำนวน 30 คน ที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาล 2 ปีการศึกษา 2549 ภาคเรียนที่ 2 โรงเรียนศรีดรุณ จังหวัดสมุทรปราการ  โดยใช้ระยะเวลาทดลอง เป็นเวลา 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 40 นาที
เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง 
1 แผนการจัดประสบการณ์ดนตรีตามแนวออร์ฟชูคเวิร์คและแบบทดสอบวัดทักษะพื้นฐานทางด้านคณิตศาสตร์
2 คู่มือการจัดประสบการณ์ตามแนวดนตรีตามแนวออร์ฟชูคเวิร์ค
ผลการวิจัยพบว่า เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์ตามแนวดนตรีตามแนวออร์ฟชูคเวิร์คมีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ได้แก่ การจัดหมวดหมู่  การรู้ค่าจำนวณ การเปรียบเทียบ อนุกรม เป็นต้น
กดลิงค์ดูต้นฉบับเพิ่มเติมค่ะ

**หมายเหตุ วันศุกร์ ที่ 26 กุมภาพันธ์ 2559 นัดสอบนอกตาราง เวลา 08.30 น.





ทักษะที่ได้รับ 
  • ทักษะการคิดที่แปลกใหม่
  • ทักษะการคิดออกแบบ
  • ทักษะการคิดดัดแปลง

การนำความรู้มาประยุกต์ใช้
  •  สามารถนำรูปทรงที่เป็นสามเหลี่ยม / สีเหลี่ยม มาบูรณาการเข้ากับการเรียนรู้ของเด็กโดยการใหเด็กได้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเองด้วยวิธีที่ไม่สับซ้อน

เทคนิคการสอนของอาจารย์
  •  อาจารย์มีคำถามเพื่อให้นักศึกษาสามารถคิดและตอบคำถามฝึกให้นักศึกษาเรียนรู้ที่หลากหลายผ่านกิจกรรมก่อนเข้าสู่บทเรียนสอดแทรกองค์ความรู้ที่นำไปสู่การบูรณากาในการสอนให้กับเด็กจากการจัดกิจกรรมเปะกระดาษทับรูปทรง
ประเมินผล

ประเมินตนเอง มีความตั้งใจในการเรียนการสอน รับฟังการตั้งคำถามของอาจารย์รวมทั้งเมื่ออาจารย์ยกตัวอย่าง บางครั้งก็สามารถตอบได้แต่บางครั้งก็ตอบคำถามไม่ได้เป็นไปคำสั่งของสมอง

ประเมินเพื่อน เพื่อนตั้งใจเรียนและมีสมาธิในการเรียนการสอนของอาจารย์และให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมหรือตอบคำถามอยู่เสมอ

ประเมินอาจารย์ อาจารย์มีกิจกรรมที่ส่งเสริมก่อนการเข้าสู่บทเรียนดด้วยการทำกิจกรรมที่แปลกใหม่อยู่เสมอเพื่อให้นักศึกษาได้มีสมาธิและดำเนินการเรียนการสอนเป็นไปอย่างลำดับขั้นตอน

วันเสาร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 6



                 วันพุธ ที่ 10 กุมภาพันธ์ 2559 กลุ่มเรียน101 ห้อง 233 เวลา 08.30-11.30 น.
                                                                                                                                                         
 บรรยากาศภายในห้องเรียน

       อากาศในสัปดาห์นี้ค่อยข้างที่จะหนาว อากาศภายนอกเย็น ๆ ช่วงเช้ามืดหมอกหน่อย ๆ เมื่อนักศึกษามากันครบอาจารย์ได้เช็คชื่อและให้นักศึกษาดูวิดีโอ Project Approach  การสอนแบบโครงการ 
และต่อมาอาจารย์แจกกระดาษ A4 โดยให้หยิบคนละ 1 แผ่น เมื่อได้กระดาษครบทุกคนให้แต่ละคนตีตาราง 2 ตาราง ลำดับสุดท้ายเป็นการนำเสนอของเพื่อน                      
  
ความรู้ที่ได้รับ

วิดีโอการเรียนรุ้ที่กล่างถึง   
  
จากวิดีโอที่ได้ดูมีความเกี่ยวข้องกับวิชาคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยดังนี้
1.การเรียนรุ้ลำดับจากการเขียนชาร์ตของนก                                                                                    
 2. เรียนรู้รูปทรงของ "เห็ด"                                                                                                      
3.การคิดคำนวณจากการซื้ิอ "เห็ด" กลับบ้าน
กิจกรรมก่อนเข้าสู่บทเรียนในวันนี้                             
                                                                                 
   อาจารย์แจกกระดาษ A4 โดยให้หยิบคนละ 1 แผ่น เมื่อได้กระดาษครบทุกคนให้แต่ละคนตีตาราง 2 ตาราง   ตารางที่ 1 ตีตารางเป็น 10 ช่อง แถว
ตารางที่ 2 ตีตารางเป็น 10 ช่อง 3 แถว
 *อาจารย์ได้เน้นย่ำอีกว่า การทำกิจกรรมใดก็ตามต้องคำนึงถึงความพร้อมพัฒนาการที่มีต่อการเรียนรู้ของตัวเด็กเองจะต้องเป็นไปพร้อม ๆ กับการดำเนินกิจกรรม เด็กสามารถที่จะทำกิจกรรมได้สนุกสนานไม่เร่งรัดพัฒนาการที่มากเกินไป *ส่วนที่เป็นตาราง เปรียบเหมือนกับการพัฒนาตนเองเหมือนกับว่า ให้ลองหาวิธีที่หลากหลายในการออกแบบระบายสีที่ไม่ซ้ำกับแบบเดิม คือการคิดที่สร้างสรรค์ไม่หยุดหรือไม่ยอมแพ้ ทำเป็นโจทย์ใหม่ ๆ ให้ตนเองได้คิดที่หลากหลายขึ้น                
การบ้านสัปดาห์นี้ คือ 
การบ้านชิ้นที่ 1 :อาจารย์แจกไม้แหลม เหมือนกับไม้ลูกชิ้นมา 12 อัน โดยให้นักศึกษานำกลับไปเพื่อตัดแบ่งเป็น 3 ส่วน ขนาดเล็ก 6 ไม้ ขนาดกลาง 6 ไม้ และขนาดยาว 6 ไม้   
การบ้านชิ้นที่ 2 : จับกลุ่ม  4 กลุ่ม โดยมีสมาชิกทั้งหมด 5  คน ในแต่ละกลุ่ม โดยมีหัวข้อดังนี้
                           - การสอนแบบมอนเตสเซอรี่
                           - การสอนแบบโครงการ
                           - การสอนแบบวอลดอฟ
                           - การสอนแบบ STEM

  ทักษะที่ได้รับ 
·         ทักษะการทำงานที่ดี
·          ทักษะการคิดดัดแปลง
·         ทักษะการคิดที่หลากหลาย

การนำความรู้มาประยุกต์ใช้
การทำงานที่มีการวางแผนเป็นขั้นตอนเพื่อจัดระบบระเบียบให้แกตนเองในการพัฒนาตนเองในการเรียนและสู่อนาคตที่ดีได้และการนำเอากาารระบายสีลงตารางสามารถนำไปประยุกต์ให้เด็กปฐมวัยได้ด้วยวิธีการที่ง่ายและไม่สับซ้อนในการเรียนรู้                                                                                                                                       
เทคนิคการสอนของอาจารย์
·          อาจารย์มีคำถามเพื่อให้นักศึกษาสามารถคิดและตอบคำถามเพื่อให้ใช้ความคิดในการแก้ปัญหารวมถึงการจัดการเรียนการสอนมีการนำกิจกรรมให้นักศึกษาได้คิดแก้ปัญหาก่อนเข้าสู่เนื้อหาอยู่เสมอและน่าสนใจ

ประเมินผล

ประเมินตนเอง มีความตั้งใจในการเรียนการสอนของอาจารย์บางครั้งก็สามารถตอบคำถามที่อาจารย์ตั้งคำถามได้บ้างและจะพัฒนาได้ดียิ่งขึ้นและสามารถคิดที่มีความหลากหลายของภาพตารางที่จะต้องระบายได้

ประเมินเพื่อน เพื่อน ๆ ดูตั้งใจและสามารถตอบคำถามที่อาจารย์ถามได้ทันที

ประเมินอาจารย์ อาจารย์ มีความรอบคอบ แต่งกายสุภาพ รวมถึงการเรียนการสอนมุ่งเน้นให้นักศึกษาพูดคุยเสนอความคิดเห็นในการอธิบายในตัวอย่างที่อาจารย์ได้นำมาให้นักศึกษาค้นคว้า 


                                                                                      

วันศุกร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 5

                                วันพุธ ที่ 3 กุมภาพันธ์ 2559 กลุ่มเรียน101 ห้อง 233 เวลา 08.30-11.30 น.


บรรยากาศภายในห้องเรียน

       อาจารย์ได้แจกกระดาษแข็งเพื่อที่จะทำแผนภูมิที่เป็นตาราง "การตื่นนอน" เพื่อแสดงกราฟให้เห็นอย่างชัดเจนขึ้นจากช่วงเวลา ตื่นก่อน07.00 ตื่น07.00 ตื่นหลัง07.00 แล้วให้นักศึกษาเขียนชื่อลงกระดาษแข็งแล้วไปติดที่กระดานที่อาจารย์เตรียมไว้ สรุปเป็นจำนวนของสมาชิกในห้อง เมื่ออาจารย์กล่าวคำแนะนำเกี่ยวกับการทำตารางในการเรียนรู้ในเด็กปฐมวัยเสร็จก็เป็นการนำเสนอ บทความ วิจัย วิดีโอที่ตนเองต้องนำเสนอในแต่ละสัปดาห์ และเมื่อนำเสนอแล้วเสร็จก็เป็นการนำเข้าสู่บทเรียน "ลักษณะหลักสูตรที่ดี"  รวมถึงการนำเสนอวิธีการออกแบบสื่อคณิตศาสตร์
                                                               ตัวอย่างอย่างกระดาษ

ภาพระหว่างการนำเสนอรวิธีการออกแบบสื่อคณิตศาสตร์ ทั้ง 5 กลุ่ม

ได้รับการแนะนำจากอาจารย์ในการทำสื่อคณิตสาสตร์ลำดับต่อไป
ความรู้ที่ได้รับ

  • เพลงคณิตศาสตร์เพิ่มเติมจากสัปดาห์ที่แล้ว
เพลง จับปู
หนึ่ง สอง สาม สี่ ห้า    จับปูม้ามาได้หนึ่งตัว
หก เจ็ด แปด เก้า สิบ   ปูมันหนีบฉันต้องส่ายหัว
กล้ว ฉันกลัว ฉันกลัว    ปูหนีบหัวฉันที่หัวแม่มือ
ลา ล้า ลา ลา ล้า ลา ลา ล้า ลา ลา ล้า ลา

เพลง นกกระจิบ
นั่นนกบินมาลิบลิบ
นกกระจิบ หนึ่ง สอง สาม สี่ ห้า 
อีกฝูงบินล่องลอยมา
หก เจ็ด แปด เก้า สิบ ตัว

เพลง นับนิ้วมือ
นี่คือนิ้วมือของฉัน  มือฉันนั้นมีสิบนิ้ว
มือซ้ายฉันมีห้านิ้ว  มือขาวก็มีห้านิ้ว
นับ หนึ่ง สอง สาม สี่่ ห้า  นับต่อมา หก เจ็ด แปด เก้า สิบ
นับนิ้วนั้นจงอย่ารีบ  นับหนึ่งถึงสิบจำให้ขึ้นใจ

เพลง บวก-ลบ
บ้านฉันมีแก้วน้ำสี่ใบ   ครูให้อีกสามใบนะเธอ
มารวมกันนับดีดีซิเออ  ดูซิเธอรวมกันได้เจ็ดใบ
บ้านฉันมีแก้วน้ำเจ็ดใบ  หายไปสามใบนะเธอ
ฉันหาเเก้วแล้วไม่เจอ   ดูซิเออเหลือเพียงแค่สี่ใบ

เพลง แม่ไก่ออกไข่
แม่ไก่  ออกใข่วันละฟอง  ไข่วันละฟอง ไข่วันละฟอง
แม่ไก่ ของฉันไข่ทุกวัน     หนึ่งวันได้ไข่หนึ่งฟอง(นับต่อจนถึง 10)

คำคล้องจองคณิตศาสตร์ 
กลอน หนึ่ง-สอง
หนึ่ง สอง        มือตีกลอง ตะเเล๊ก แทร๊กแทร๊ก    
สาม สี่            ดูให้ดี
ห้า หก             ส่องกระจก      
เจ็ด แปด          ถือปืนแฝด
เก้า  สิบ            กินกล้วยดิบ    ปวดท้องร้อง โอยอย 
  • ลักษณะหลักสูตรที่ดี มีความสมดุลดังนี้     

* เน้นกระบวนการคิดและการพัฒนาความคิดรวบยอด
* เน้นการเรียนรู้ ภาษาและการใช้ภาษาพูดที่สัมพันธ์กับกิจกรรมในชีวติประจำวันโดยไม่ใช้การท่องจำ
* แนะนำคำศัพท์ใหม่ ๆ และสัญลักษณ์อย่างค่อยเป็นค่อยไป
* สร้างเสริมให้เด็กเกิดความเชื่อมั่นและค้นคว้าข้อมูลเพื่อให้ได้คำตอบ
* ส่งเสริมให้เด็กเกิดการรับรู้สามารถบรรยายหรือค้นหาเพิ่มเติม
* เน้นให้เด็กเกิดความคิดรวบยอดให้เด็กมีทักษะคณิตศาสตร์ไปพร้อม ๆ กัน
* เปิดโอกาศให้เด็กค้นคว้า สำรวจ และปฏิบัติ รู้จักตัดสินใจด้วยตนเอง

ทักษะที่ได้รับ 
  • ทักษะการคิดแก้ปัญหา
  • ทักษะการวิเคราะห์ตอบคำถาม ทักษะการคิดดัดแปลง
  • ทักษะการคิดดัดแปลง

การนำความรู้มาประยุกต์ใช้
   

  •  การนำเพลงคณิตศาสตร์ไปใช้ในการเก็บเด็กในการเริ่มการเรียนการสอน เด็กจะมีความสนใจและสนุกสนานกับเพลงและมีสมาธิมากขึ้นในการดำเนินกิจกรรม
  •  การสร้างเจตคติที่ดีเกี่ยวคณิตศาสตร์ผ่านบทเพลงและคำคล้องจองในเด็กปฐมวัย
  •  ขั้นตอนการเช็คชื่อจากตารางเวลาตื่นนอน สอดแทรกความรู้ให้กับเด็กได้โดยการปฏิบัติเช่น การรับผิดชอบในการนำป้ายชื่อของตนเองมาติดที่กระดาน การมาเรียน ทำให้เด็กมีแรงกระตุ้นต่อการมาโรงเรียนในช่วงเช้า



เทคนิคการสอนของอาจารย์
  •  อาจารย์มีคำถามเพื่อให้นักศึกษาสามารถคิดและตอบคำถามเพื่อให้ใช้ความคิดในการแก้ปัญหาจากตัวอย่างต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน มีความตั้งใจในการเรียนการสอนของอาจารย์บางครั้งก็สามารถตอบคำถามที่อาจารย์ตั้งคำถามได้บ้างและจะพัฒนาได้ดียิ่งขึ้น

ประเมินผล

ประเมินตนเอง มีความตั้งใจในการเรียนการสอนของอาจารย์บางครั้งก็สามารถตอบคำถามที่อาจารย์ตั้งคำถามได้บ้างและจะพัฒนาได้ดียิ่งขึ้น 

ประเมินเพื่อน เพื่อน ๆ ช่วงแรกมีความตัั้งใจดีและพอช่วงกลางคุยกันยิดหน่อยแต่ก็สามารถกลับมาตั้งใจในการเรียนการสอนของอาจารย์ได้ 

ประเมินอาจารย์ อาจารย์เป็นคนตรงต่อเวลา มีความรอบคอบ และการเรียนการสอนมุ่งเน้นให้นักศึกษาพูดคุยเสนอความคิดเห็นในการอธิบายในตัวอย่างที่อาจารย์ได้นำมาให้นักศึกษาค้นคว้า